วิธีคิด Licensed ของ Windows Server 2016/2019 บน VMware vMotion

หลายคนสับสนกับการคิด Licensed ของ Windows Server อยู่แล้ว แถมมาเจอกรณีที่ใช้ vMotion เข้าไปอีก เท่าที่ผมนั่งอ่านเอกสารจาก Microsoft พอสรุปได้ว่า

  1. Physical Server 1 เครื่องอย่างน้อยต้องมี 16 Core Licensed (ถ้าเครื่องมีน้อยกว่า 16 Core ก็ต้องซื้อ 16 ถ้ามีมากกว่า 16 Core ก็ต้องซื้อเพิ่มให้ครบตามจำนวน Core รวมทั้งหมด)
  2. Licensed บน 1 Physical Server ที่ต้องซื้ออย่างน้อย 16 Core ใช้ได้ไม่เกิน 2 CPU และถ้าจำนวน Core ทั้ง 2 CPU รวมกันเกิน 16 Core ก็ต้องซื้อเพิ่มให้ครบเท่ากับจำนวน Core รวมทั้งหมด
  3. ถ้ามี Physical Server มีมากกว่า 2 CPU ต้องซื้อ Licensed เพิ่มสำหรับ CPU อย่างน้อย CPU ละ 8 Core และต้องซื้อเพิ่มให้ครบเท่ากับจำนวน Core รวมทั้งหมด
  4. ยกตัวอย่าง
    1. มี 1 CPU 8 Core ต้องซื้อ Licensed 16 Core
    2. มี 1 CPU 20 Core ต้องซื้อ Licensed 16+4 Core
    3. มี 2 CPU 4+4 Core ต้องซื้อ Licensed 16 Core
    4. มี 2 CPU 20+20 Core ต้องซื้อ Licensed 16+4+20 Core
    5. มี 4 CPU 4+4+4+4 Core ต้องซื้อ Licensed 16+8+8 Core
    6. มี 4 CPU 20+20+20+20 Core ต้องซื้อ Licensed 16+4+20+20+20 Core

บน Physical Server มีแค่นี้จะใช้ Datacenter หรือ Standard ก็ขึ้นอยู่กับ Feature ที่จะใช้งาน

การคิด Licensed บน VMware ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายคนไม่เข้าใจ

  1. ถ้าคุณซื้อ Datacenter ให้ซื้อเท่ากับจำนวน Server ที่ติดตั้ง ESXi โดยคิดจำนวน Licensed แบบ Physical Server เลย ไม่นับว่าคุณจะมี VM ใช้งานอยู่เท่าไหร่
  2. ถ้า ESXi คุณมี 1 CPU 16 Core ซื้อ Standard 16 Core ใช้ได้ 2 VM บน Physical Server เดียวกันเท่านั้น ถ้ามี 4 VM ก็ต้องซื้อ 32 Core, 6 VM ต้องซื้อ 48 Core เป็นต้น
  3. ยกตัวอย่าง ESXi แต่ละเครื่องมี 1 CPU 16 Core ตามข้างล่างนี้ คุณต้องซื้อ Licensed 144 Core
    1. ESXi1 มี 5 VM ใช้ Licensed 48 Core (ใช้ได้สูงสุด 6 VM)
    2. ESXi2 มี 7 VM ใช้ Licensed 64 Core (ใช้ได้สูงสุด 8 VM)
    3. ESXi3 มี 3 VM ใช้ Licensed 32 Core (ใช้ได้สูงสุด 4 VM)
  4. ถ้าคุณใช้ vMotion แต่ละ Physical Server จะต้องมี Licensed เท่ากับจำนวน VM มากที่สุดที่จะมาใช้งานบน Physical Server เครื่องนั้น เพราะ Licensed ของ Windows Server ไม่ได้ติดอยู่กับ VM แต่ติดอยู่ที่ Physical Server
  5. ยกตัวอย่างจากข้อที่ 3 ถ้าคุณต้องการเผื่อ Licensed ไว้กรณีจะย้าย VM ออกจาก ESXi เพื่อ Maintenance ก็ต้องดูเครื่องที่มี VM มากที่สุดคือ ESXi2 ต้องซื้อ Licensed เพิ่มให้ ESXi อีกเครื่องละ 16+0+32 Core เพื่อมี Licensed ไว้รองรับกรณีที่ต้อง Shutdown เครื่องใดเครื่องหนึ่ง และต้องระวังไม่ให้ VM ที่อยู่ในแต่ละ ESXi เกิน Licensed ที่รองรับ คุณต้องซื้อ Licensed 192 Core
    1. ESXi1 มี 5 VM ใช้ Licensed 64 Core (ใช้ได้สูงสุด 8 VM)
    2. ESXi2 มี 7 VM ใช้ Licensed 64 Core (ใช้ได้สูงสุด 8 VM)
    3. ESXi3 มี 3 VM ใช้ Licensed 64 Core (ใช้ได้สูงสุด 8 VM)
  6. บางที่อาจจะซื้อโดยเอาจำนวน VM ทั้งหมด หาร 2 และคูณจำนวน ESXi เลยเพื่อป้องกันความผิดพลาด อย่างกรณีตัวอย่างจากข้อ 3 คือมี 15 VM คุณต้องซื้อ Licensed 348 Core (16/2x16x3) ต้องคิด 16 เพื่อหาร 2 ลงตัว

สำหรับกรณีที่ ESXi แต่ละเครื่องมีมากกว่า 1 CPU หรือ CPU มีมากกว่า 16 Core

  1. ESXi มี 1 CPU 20 Core คุณจะต้องซื้อ Licensed 20 Core ต่อ 2 VM (10 VM ต้องซื้อ 100 Core)
  2. ESXi มี 2 CPU แต่ละ CPU มี 16 Core คุณจะต้องซื้อ Licensed 32 Core ต่อ 2 VM (10 VM ต้องซื้อ 160 Core)
  3. ESXi มี 4 CPU แต่ละ CPU มี 20 Core คุณจะต้องซื้อ Licensed 80 Core ต่อ 2 VM (10 VM ต้องซื้อ 400 Core)

กรณีที่มี SA แล้วย้าย Licensed ได้ แต่สำหรับ Server จะทำได้แค่ 90 วันต่อ 1 ครั้งเท่านั้นครับ

การซื้อ Client Access Licenses (CAL)
สำหรับการเข้าใช้งาน Windows Server จากเครื่อง Client จะต้องมี CAL สำหรับทุกเครื่องหรือทุก User ที่เข้ามาใช้งาน โดย CAL ที่มีจะเข้าใช้งาน Server ได้ทั้งหมดในองค์กรที่ Version เท่ากันหรือต่ำกว่า CAL เช่นถ้ามี CAL Windows Server 2019 ก็ใช้งาน Windows Server 2019 ลงไปได้ทั้งหมด โดย CAL มี 2 แบบให้เลือกใช้ควรเลือกซื้อแบบที่จำนวนน้อยกว่า

  1. User CAL ให้ใช้แบบนี้กรณีที่ User มีมากกว่า 1 Device เช่น User 1 คนมี PC, Smart Phone, Notebook
  2. Device CAL ใช้กรณีที่มี Device มากกว่า User เช่นห้องเรียนที่มีคนหมุนเวียนมาใช้, การทำงานเป็นกะ, ห้องฝึกอบรม เป็นต้น

ที่มา

http://download.microsoft.com/download/3/D/4/3D42BDC2-6725-4B29-B75A-A5B04179958B/WindowsServer2016VirtualTech_VLBrief.pdf

https://download.microsoft.com/download/7/C/E/7CED6910-C7B2-4196-8C55-208EE0B427E2/Windows_Server_2019_licensing_datasheet_EN_US.pdf

https://www.lenovosalesportal.com/windows-server-2019-core-licensing-calculator.aspx

Server: File Share

File server หรือ file share เป็น server ที่เก็บไฟล์ที่ใช้ร่วมกันในองค์กร ส่วนใหญ่จะใช้วิธี map drive ไปให้ user ใช้งาน นอกจากนี้ file share ยังกำหนดสิทธิ์การใช้งานได้ว่า user แต่ละคนเข้าใช้แต่ละ folder ใน file share ได้หรือไม่ผ่านสิทธิ์ใน Active Directory

การ map drive ให้ user ปกติผมใช้ผ่าน GPO บน Active Directory เพื่อความง่ายและรวดเร็ว ไม่ต้องไป map drive ที่เครื่อง user ทุกคน

แทบทุกที่ map drive รูปแบบคล้ายๆ กันคือ drive ส่วนตัวของ user, drive แผนก, drive รวมของบริษัท และมักจะ filter ประเภทไฟล์และกำหนด quota พื้นที่ใช้งาน

ข้อดีของการใช้ File Share

  • จัดการง่าย กำหนดพื้นที่ให้ใช้งาน และประเภทไฟล์ที่เก็บได้
  • Backup ข้อมูลจากที่เดียว ง่ายในการค้นหาเพื่อ restore ไฟล์
  • มั่นใจได้ว่าไฟล์ที่เก็บไว้ที่ file share มีความปลอดภัยมากกว่า มีการกำหนดสิทธิ์เข้าถึงไฟล์
  • Restore ไฟล์กลับได้หลาย version กรณีที่ไฟล์โดน save ทับแล้วเสียหาย

สนใจสอบถามเพิ่มเติม info@implementer.co.th หรือ send message ทาง facebook

Server: Domain Controller

ผมว่าแทบทุกที่มี Active Directory ใช้อยู่แล้ว ซึ่ง Domain Controller ก็คือเครื่องที่เก็บข้อมูลต่างๆ ของ AD เอาไว้ ผมขอธิบายแบบง่ายๆ ว่า Active Directory มีประโยชน์อะไร ที่ได้ใช้บ่อยๆ

ใน 1 องค์กรมี Domain Controller ได้มากกว่า 1 เครื่องซึ่งจะเก็บข้อมูลไว้เหมือนกัน ถ้าเครื่อง 1 พัง เหลือแค่เครื่อง 2 ก็ยังใช้งานได้ DC ทั้งหมดที่มีจะมี 1 เครื่องที่เป็นตัวเก็บ FSMO ซึ่งถ้าเครื่องนั้นพังเราก็แค่ให้เครื่องไหนก็ได้ที่เหลือมาเก็บ FSMO แทน

Active Directory เป็น feature ที่มากับ Windows Server อยู่แล้ว เราเปิดใช้งานได้เลย ไม่ต้องซื้อเพิ่ม แนะนำว่าอย่างน้อยควรมี DC 2 เครื่อง ถ้าใช้ VMware ก็ควรอยู่กับคนละระบบ หรือแยกเครื่องหนึ่งไปเป็น Physical Server ก็ได้ แต่เครื่องที่เก็บ FSMO ควรเป็น VM เพื่อง่ายในการ Backup และ Restore

ประโยชน์ของ Active Directory

  1. เป็นที่เก็บ user ทั้งหมดไว้ที่เดียว แบ่ง User เป็นกลุ่มได้ การนำไปใช้งานเช่น Map drive ให้ User ตามแผนก, ให้สิทธิ์ในการใช้ File share ตามกลุ่ม, ให้ User ใช้ Internet บน Firewall ตามกลุ่ม, ให้สิทธื์ User ใช้งาน Service ต่างๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ระบบที่ต้องมีการ Authenticate ก็รองรับ AD หรือ LDAP อยู่แล้ว
  2. กำหนด Policy ให้เครื่อง Client ในระบบ แทนที่จะต้องไปตั้งค่า PC ที่ละเครื่อง เรากำหนด GPO ให้การตั้งค่าเครื่องต่างๆ ตามกลุ่มเช่น WSUS, Add Printer, Startup app
  3. Service อื่นๆ ที่มักอยู่บน DC เช่น DNS สำหรับชี้ว่าเครื่องแต่ละเครื่องใช้ IP อะไร, DHCP สำหรับแจก IP ให้เครื่องในระบบ, NPS ให้ WIFI เข้ามา Authenticate user

สำหรับผมใน DC ไม่ควรมีการติดตั้ง Software ที่ใช้งานนอกเหนือจากที่มากับ Windows Server จะยกเว้นก็แค่ Antivirus ครับ

สนใจสอบถามเพิ่มเติม info@implementer.co.th หรือ send message ทาง facebook

mac or windows or linux

จะใช้ Mac, Windows หรือว่า Linux ดี คำตอบง่ายมากเลยครับ โปรแกรมที่คุณต้องใช้งานมันใช้ได้บน OS อะไรคุณก็ซื้อเครื่องนั้นแหละ
ขยายความนิดนึง ในการทำงานคุณต้องมีการแลกเปลี่ยนไฟล์กับคนอื่นไหม ถ้า OS ต่างกันมีผลหรือเปล่า โปรแกรมทั้งหมดที่คุณต้องใช้ใช้งานบน OS อะไร ถ้าคุณตอบคำถามทั้งหมดนี้ว่า OS อะไรก็ได้ คุณซื้ออะไรก็ได้ครับ Continue reading “mac or windows or linux”