Gateway โรงเรียน

ผมเพิ่งจบงาน gateway สำหรับโรงเรียน จากจุดเริ่มต้นแค่ปรับปรุงระบบ network ให้เสถียรขึ้น ก็ขยายมาจนถึงทำ gateway ให้ลูกค้าด้วย ซึ่งระบบที่เลือกใช่อาจจะดูใหญ่ไปซักหน่อยเนื่องจากว่ามีผู้ใช้งานมากกว่า 2000 คน แต่ใช้งานพร้อมกันไม่น่าจะเกิน 300 คน ซึ่งระบบที่เลือกใช้ก็คือ

  1. VMware ESXi 4.1 ทำ virtualization เพราะระบบนี้ต้องใช้ Server 5 เครื่อง แต่ใช้ performance ค่อนข้างน้อย
  2. Microsoft Active Directory, IAS, DNS, DHCP, CA, WSUS, IISADMPWD เนื่องจากมี User ที่เป็นนักเรียนเป็นจำนวนมาก มีการเข้าออกทุกปีเป็นจำนวนมาก การใช้ Radius ตัวอื่นอาจจะไม่สะดวกกับครูที่ต้องจัดการเรื่องนี้ และเพื่อเป็นการเตรียมการไว้เผื่อจะมีการใช้งาน Active Directory เต็มระบบในอนาคต นอกจากนี้ก็เพิ่ม WSUS เข้ามาเพื่อลด bandwidth ในการ Download Patch
  3. pfSense, squid, captive portal โดยให้ไป authenticate กับ AD ผ่าน IAS หลังจากทดลองใช้มาระดับหนึ่งผมยังค่อนข้างพอใจ gateway ตัวนี้อยู่
  4. Kiwi Syslog ใช้ตัวฟรีเพราะต้องการแค่เก็บ Logs ไว้ตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ สำหรับการดูการใช้งานของนักเรียนก็ดูจาก lightsquid สะดวกกว่า
  5. L3 Switch เพราะมีอยู่ 10 VLAN ตามกลุ่มการใช้งาน

ผลจากการใช้งานระบบนี้ก็คือ

  1. ครูสามารถจัดการชื่อผู้ใช้ผ่าน Active Directory ซึ่งเป็น GUI และสามารถแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มตามชั้นปี และห้องเรียนได้
  2. ในการใช้งานอินเตอร์เน็ตนักเรียนจะต้องกรอก username และ password เพื่อยืนยันตัวตน
  3. นักเรียนสามารถเปลี่ยน Password ได้เอง
  4. มีการแสดงกราฟการ bandwidth และการเข้า website ของแต่ละ User เพื่อบริหารการใช้งานอินเตอร์เน็ต
  5. มีการเก็บ log ตามพรบ.คอมพิวเตอร์

pfSense

2-3 วันมานี้ ผมได้ลองทดสอบ pfSense ให้ลูกค้าที่จะเอาไปทำอินเตอร์เน็ตเกตเวย์ หน้าที่หลักๆ ที่ pfSense ทำคือเป็น Gateway, Proxy และ Firewall สำหรับ feature ที่ผมค่อนข้างประทับใจคือ

  1. ติดตั้งง่ายใช้เวลาไม่นาน ไม่ต้องติดตั้ง Linux ก่อน
  2. Loadbalance สำหรับการใช้อินเตอร์เน็ตมากกว่า 1 line
  3. Firewall สามารถกำหนดให้ใช้ Service อะไรได้บ้าง สามารถใช้ FTP ได้ Continue reading “pfSense”