วิธีเช็คว่าอุปกรณ์ต่อกับ USB Version อะไรบนคอมพิวเตอร์

สเปคฮาร์ดแวร์มักจะบอกว่ามี USB มากกว่า 1 Version ผมอยากให้อุปกรณ์ที่ต้องการความเร็วมากกว่าอย่าง USB Wireless ใช้ version ใหม่ที่สุด ส่วน Mouse, Keyboard ไปต่อที่ช่อง Version ต่ำๆ ก็พอ วิธีง่ายๆ ไม่ต้องไปหาคู่มือคือใช้ Device Manager บน Windows

หลังจากเช็คเสร็จก็เปลี่ยนช่อง USB ให้ตรงกับความต้องการได้แล้วครับ

ความเร็ว WIFI ที่ใช้ได้จริงๆ

ทุกวันนี้ผมเห็นอุบกรณ์ Access Point หรือ Router WIFI บอกความเร็วสูงมากถึง AC5300 แต่เมื่อใช้จริงกลับได้ความเร็วไม่ถึง 500 mbps ด้วยซ้ำ

ปัญหาเกิดจากทางผู้ผลิต AP หรือ Router บอก Spec ที่เป็น 2-3 band รวมกันเป็น 4×4 MIMO แต่อุปกรณ์ที่เราใช้งานได้แค่ 1 band เป็น 2×2 MIMO (iPhone 11 ก็ยังเป็น 2×2 MIMO) ซึ่งความเร็วสูงสุดอยู่ที่ 1083 mbps นอกจากนี้ยังมีเรื่องของระยะทาง สิ่งกีดขวาง และค่า overhead ต่างๆ ความเร็วก็เลยต่างกันเยอะ

ความเร็วจริงจาก WIFI ที่ควรจะได้

802.11b5.5 Mbps
802.11a20 Mbps
802.11g20 Mbps
802.11n100 Mbps
802.11ac200 Mbps
802.11ax2 Gpbs

ผมใช้ Router AC1200 ความเร็วที่ใช้ได้จริงประมาณ 307 mbps

ใช้ MikroTik ร่วมกับ Ubiquiti และ Windows Server

ผมลองทำ MikroTik ให้เป็น Gateway แทน Fortigate สำหรับลูกค้าที่ต้องการใช้ออกอินเตอร์เน็ตได้ทุกอย่าง แต่อยากให้ผู้ใช้ต้อง login ก่อนใช้งานทั้ง WIFI และอินเตอร์เน็ต

ข้อกำหนด

  1. ผู้ใช้ต้องใช้ username และ password ของตัวเองในการต่อ WIFI และออกอินเตอร์เน็ต
  2. ใช้ User, DNS, DHCP บน Domain Controller
  3. ผู้ใช้มี 2 กลุ่มที่อยู่กันคนละ Network

ส่วนประกอบของระบบ

  1. Windows Server อย่างน้อย 1 เครื่อง
  2. UniFi Server 1 เครื่อง
  3. Access Point อย่างน้อย 1 เครื่อง
  4. L2 Switch อย่างน้อย 1 เครื่อง
  5. MikroTik 1 เครื่อง

ระบบ Network 3 VLAN

  1. Server และ Network
  2. ผู้ใช้กลุ่มที่ 1
  3. ผู้ใช้กลุ่มที่ 2

ระบบ WIFI

  1. ผู้ใช้กลุ่มที่ 1 ต้องใช้ username และ password เพื่อใช้งาน
  2. ผู้ใช้กลุ่มที่ 2 ต้องใช้ username และ password เพื่อใช้งาน

ตั้งค่า Mikrotik

  1. มี 3 VLAN และ MikroTik เป็น Gateway ของทุก VLAN
  2. ใช้งาน Hotspot 2 VLAN เพื่อให้ผู้ใช้ต้อง Login ก่อนออกอินเตอร์เน็ต ส่วน VLAN Server ไม่ต้อง Login
  3. Windows เครื่องเดียวแจก IP Address ให้ทุก VLAN บน MikroTik
  4. ใช้ Uplink 1 เส้นจาก Switch มายัง MikroTik

ข้อดีของระบบนี้

  1. ผู้ดูแลระบบไม่ต้องไปแก้ไข MikroTik โดยตรง สามารถจัดการ User, DHCP และ DNS ได้บน Windows
  2. สำหรับลูกค้าที่ใช้ Active Directory อยู่แล้ว ผู้ใช้งานก็ใช้ Username/Password เดิมได้เลยไม่ต้องสร้างใหม่
  3. มี Radius บน Windows 1 เครื่องที่ควบควบคุมการ Login ได้ทั้ง 4 รูปแบบ
    • ผู้ใช้กลุ่มที่ 1 WIFI
    • ผู้ใช้กลุ่มที่ 1 Hotspot
    • ผู้ใช้กลุ่มที่ 2 WIFI
    • ผู้ใช้กลุ่มที่ 2 Hotspot

สนใจสอบถามเพิ่มเติม info@implementer.co.th หรือ send message ทาง facebook

Import ชื่อนามสกุลภาษาไทยบน G Suit

ที่โรงเรียนต้องการเพิ่มนักเรียนเข้าไปใน Gmail เพื่อใช้งาน Classroom และ Service ต่างๆ จาก Google ปัญหาคือทางโรงเรียนไม่มีชือภาษาอังกฤษของนักเรียน เลยต้องใช้รหัสประจำตัวเป็น E-Mail แต่เมื่อ Import ชื่อภาษาไทยเข้าไปก็อ่านไม่ออก วิธีแก้คือ Save ไฟล์เป็น CSV UTF-8 บน Excel

วิธีอัปโหลดทุกคนในครั้งเดียวไปที่ ไดเรกทอรี >> ผู้ใช้ >> อัปโหลดผู้ใช้จำนวนมาก เลือก “ดาวน์โหลดเทมเพลต CSV เปล่า” เพื่อนำมากรอก Save ไฟล์เป็น CSV UTF-8 แล้วเลือก “แนบ CSV”

หลังจากนั้นเมื่อ Export ชื่อทุกคนออกมาเป็น CSV ก็อ่านชื่อไม่ได้ต้อง import บน Excel โดยสร้างเอกสารเปล่า ไปที่เมนู Data >> From Text/CSV เลือกไฟล์ CSV แล้วเปลี่ยน File Origin เป็น Unicode (UTF-8) ก็จะอ่านชื่อนามสกุลภาษาไทยได้

นอกจาก import user ได้แล้วเรายังใส่ user ไปในกลุ่มได้พร้อมกันหลายๆ คนโดยไปที่ ไดเรกทอรี >> กลุ่ม >> เลือกกลุ่มที่ต้องการ >> เลือกจัดการสมาชิก >> ชี้เครื่องหมาย + >> อัพโหลดสมาชิกจำนวนมาก เลือก “ดาวน์โหลดเทมเพลต CSV เปล่า” เพื่อนำมากรอก Save ไฟล์แล้วเลือก “แนบ CSV”

แค่นี้เราก็เพิ่ม user เข้าไปใน Gmail ทั้งหมดครั้งเดียว, เพิ่ม user เข้าไปในกลุ่ม และใช้ชื่อนามสกุลเป็นภาษาไทยได้แล้วครับ

ปัญหา Notebook Dell กับ SSD NVME

ผมใช้ Notebook Dell รุ่น Latitude 7490 ซึ่งตอนที่ได้เครื่องมา Dell ติดตั้ง SSD มาให้แบบ M.2 SSD ใช้มาสักระยะอยากได้ความจุของ SSD และ Speed ของ SSD เพิ่ม จึงได้ไปซื้อ SSD แบบ M.2 NVME มาติดตั้งและได้ทำการลง windows 10 ใหม่ปรากฎว่าหลังจากลงเสร็จ ทำการ update driver จาก Dell Support Assist ยังไม่ทันเสร็จก็ขึ้นจอฟ้า (Stop code BAD POOL CALLER)

ผมติดตั้งใหม่อยู่หลายครั้งก็ยังเป็นเหมือนเดิมไม่ว่าจะเปลี่ยน USB ที่ใช้ติดตั้ง (คิดว่า File อาจจะไม่สมบูรณ์) แต่ก็ยังขึ้นจอฟ้า แต่พอเปลี่ยนไปใช้ SSD M.2 ที่ไม่ใช่แบบ NVME มาติดตั้ง windows 10 ใหม่ update driver จาก Dell Support Assist จนเสร็จ กลับไม่เจออาการดังกล่าว (ตอนแรกคิดว่า SSD NVME ที่ซื้อมาอาจจะเสียแต่เอาไปใส่กับ Dell PC เครื่องอื่นแล้วติดตั้ง windows 10 ไม่เจอปัญหานี้) เลยลองเข้าไปดูใน Bios ปรากฎว่ามีการตั้งค่า Storage 3 แบบให้เลือก

โดยค่า Default เลือกไว้ที่ RAID ON (Intel Rapid Restore Technology) ผมเลยทำการเปลี่ยนเป็น AHCI แล้วลองทำการติดตั้ง Windows 10 อีกครั้งจาก USB อันเดิม update driver จาก Dell Support Assist ติดตั้งโปรแกรมที่ใช้งานจนครบ ปรากฎว่าไม่เจอปัญหาจอฟ้าอีกเลย

เคสนี้ confirm กับทาง Dell Tech Support แล้ว ถ้าใช้ SSD ให้เลือก SATA Operation เป็น AHCI