Windows Server Update Services (WSUS)

ที่มา http://maps.swu.ac.th/index.php?option=com_content&task=view&id=48&Itemid=77

ระบบจัดการอัพเดทไฟล์เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์คอมพิวเตอร์ (WSUS) Windows Server Update Services ได้พัฒนาต่อเนื่องจาก SUS 2.0 เป็นระบบตรวจสอบและอัพเดทไฟล์ของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (Windows Operating System) ทำให้ระบบปฏิบัติการของเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัย ตลอดเวลาโดยอัตโนมัติ 
ระบบปฏิบัติการทุกชนิดทุกเวอร์ชั่น เช่น Windows (95/98/Me/NT/XP/2000/2003), Linux (Redhat/FreeBSD/Slackware/CentOS) และอื่นๆ เมื่อผลิตและแจกจำหน่ายให้ใช้งานได้ระยะเวลาหนึ่ง จะมีผู้ใช้ที่ได้ทดสอบและใช้งานระบบปฏิบัติการพบปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นของระบบปฏิบัติการและแจ้งไปให้บริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์ทราบ เพื่อให้บริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์ออกไฟล์หรือชุดของโปรแกรมเล็กๆ มาทำการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งกรณีที่ข้อผิดพลาด (รวมทั้งช่องโหว่) ถูก Hacker และ Cacker ตรวจสอบพบ ในกรณีหลังนี้บริษัทเจ้าของผลิตภัณฑ์ต้องรีบแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างรวด เร็ว เพราะมีผลต่อความน่าเชื่อถือของผลิดภัณฑ์ รวมทั้งความเสถียรภาพด้วยเช่นกัน ฉะนั้นการตรวจสอบและอัพเดตไฟล์ของระบบปฏิบัติการ (รวมถึงซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งบนระบบปฏิบัติการ) จึงเป็นสิ่งสำคัญที่ไม่แตกต่างจากการอัพเดตซอฟต์แวร์ Antivirus เพราะไวรัสบางชนิดจะโจมตีช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการที่ไม่ได้รับการอัพเดต ส่งผลให้แม้จะติดตั้งโปรแกรม Antivirus แล้วก็ตาม แต่ซอฟต์แวร์ Antivirus ก็ไม่สามารถช่วยป้องกันไวรัสได้อย่างสมบูรณ์แบบ เนื่องจากระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งลงสู่เครื่องไมโคร คอมพิวเตอร์ไม่ได้รับการอัพเดตให้ทันสมัยอยู่เสมอนั่นเอง
WSUS จะตรวจสอบและอัพเดตไฟล์ของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ที่ติดตั้งบนเครื่องไมโคร คอมพิวเตอร์ให้ไฟล์ต่างๆ ได้รับการปรับปรุงและแก้ไขให้ทันสมัยอยู่เสมอ หรือกล่าวได้ว่าเป็นการปิดช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์นั่นเอง ระบบปฏิบัติการวินโดวส์มีคำศัพท์ที่ควรเข้าใจของการปิดช่องโหว่อยู่ 2 คำศัพท์ด้วยกันคือ Security Patch และ Service Pack

Security Patch (Hot fix)
คือ โปรแกรมขนาดเล็กที่บริษัท Microsoft จัดทำออกมาเพื่อแก้ปัญหาของช่องโหว่ที่เกี่ยวกับความปลอดภัยของระบบปฏิบัติการ หรือออกมาเพื่อปรับปรุงปัญหา (Bug) ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้ โดยปกติแล้วจะมี patch(ไฟล์ที่ทำการแก้ปัญหาของช่องโหว่) ใหม่ๆ ออกมาทุกสัปดาห์

Service Pack (SP)
Service Pack จะแตกต่างจาก Hot fix ตรงที่ จะมีการปรับปรุงทั้งส่วนที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยและไม่เกี่ยวข้องกับ ความปลอดภัยของระบบปฏิบัติการ เช่น การพัฒนาระบบให้ทำงานได้เร็วขึ้น การทำให้ซอฟต์แวร์มีความสามารถมากขึ้น เป็นต้น ปัจจุบันนี้มี Service Pack มากมาย เช่น Windows Server 2000 (SP1 SP2 SP3 และ SP4), Windows XP (SP2), Windows Server 2003 (SP2) เป็นต้น โดยปกติแล้ว service Pack ที่ออกมาหลังสุดจะครอบคลุม Service Pack ก่อน หน้านั้นทั้งหมด เช่น เครื่องเซิร์ฟเวอร์ Widows Server 2003 เมื่อติดตั้ง SP2 ก็ไม่จำเป็นต้องติดตั้ง SP1 อีกเพราะ SP2 คลอบคลุมทุกการปรับปรุงของ SP1 แล้ว

Microsoft Update
เป็น แหล่งรวบรวมไฟล์ปรับปรุงช่องโหว่ต่างๆ (Security Patch และ Service Pack) ของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ ซึ่งผู้ใช้สามารถดาวน์โหลดไฟล์ปรับปรุงและอัพเดตระบบปฏิบัติการได้จาก เว็บไซต์ของบริษัทไมโครซอฟต์ได้ตลอดเวลา

Windows Server Update Services
เป็นเซิร์ฟเวอร์ให้บริการปรับปรุงและอัพเดตไฟล์ของระบบปฏิบัติการภายใน หน่วยงานหรือองค์กร ซึ่งไฟล์อัพเดตต่างๆ จะไปดาวน์โหลดมากจาก Microsoft Update อีกชั้นหนึ่ง ฉะนั้นเมื่อบริษัทไมโครซอฟต์ได้อัพเดต Microsoft Update ขึ้น Windows Server Update Services จะได้รับการอัพเดตด้วย และ WSUS จะส่งไฟล์อัพเดตให้กับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์อีกทอดหนึ่งด้วยเช่นกัน เป็นแบบนี้เรื่อยไปจนกว่าระบบปฏิบัติการเวอร์ชั่นนั้นๆ บริษัทไมโครซอฟต์จะเลิกทำการสนับสนุนแล้วเท่านั้น

คุณสมบัติเบื้องต้น

  1. อัพเดตไฟล์ของระบบปฏิบัติการให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา
  2. อัพเดตไฟล์โปรแกรมของไมโครซอฟต์ให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลา

การทำงานของ WSUS
การอัพเดตไฟล์และปิดช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ สามารถดำเนินการได้ 2 วิธี คือ Microsoft Update และ Windows Server Update Services
การอัพเดตไฟล์และปิดช่องโหว่ด้วยวิธี Microsoft Update จะเหมาะกับเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ภายในบ้าน หรือหน่วยงานที่มีเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จำนวนไม่มาก รวมถึงความเร็วของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วย เพราะหากอินเทอร์เน็ตที่ใช้บริการมีความเร็วต่ำจะมีผลทำให้การดาวน์โหลดไฟล์ ต่างๆ มาอัพเดตใช้เวลานานมาก หรืออาจดาวน์โหลดไม่สำเร็วด้วยเช่นกัน หลังจากที่ได้ติดตั้งระบบปฏิบัติการเรียบร้อยแล้วการตั้งค่าการอัพเดต (Automatic Updates) จะเป็น Automatic และผู้ใช้สามารถตั้งค่าการอัพเดตได้ตามต้องการ เช่น ทุกวันไหนของสัปดาห์ หรือทุกๆ วัน รวมถึงเวลาที่ต้องการด้วยเช่นกัน ซึ่งสามารถตรวจสอบได้ที่ Control Panel –> System และแท็บ Automatic Updates การอัพเดตวิธีนี้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จะไปดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆ จากเว็บไซต์ของบริษัทไมโครซอฟต์โดยตรงทำให้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ได้รับ การอัพเดตไฟล์และปิดช่องโหว่ต่างๆ ให้ทันสมัยอยู่เสมอ (อัพเดตไฟล์ต่างๆ ของแต่ละเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จะมีจำนวนไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการและซอฟต์แวร์ที่ติดตั้งบนเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ นั้นๆ ด้วยเช่นกัน)
Windows Server Update จะเหมาะกับองค์กรขนาดกลางขึ้นไปที่มีเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จำนวนมาก (เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 5-10 เครื่อง ควรใช้วิธีนี้เพราะเป็นการช่วยรักษาทราฟฟิกที่มีอยู่อย่างจำกัด) อย่างที่ทราบแล้วว่าเซิร์ฟเวอร์ WSUS จะไปดาวน์โหลดไฟล์ต่างๆ จาก Microsoft Update อีกชั้นหนึ่ง และเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ในองค์กรจะมาดาวน์โหลดไฟล์จากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ WSUS นี้ต่อไป อัพเดตไฟล์ที่เซิร์ฟเวอร์ WSUS ได้ดาวน์โหลดมาจะเป็นไฟล์ทุกอย่างที่ Microsoft Update อนุญาติให้ดาวน์โหลดได้ เช่น อัพเดตไฟล์ของระบบปฏิบัติการ อัพเดตไฟล์ของซอฟต์แวร์ต่างๆ เป็นต้น เครื่องเซิร์ฟเวอร์ WSUS นี้จะต้องมีพื้นที่ความจุของฮาร์ดเวร์สูงมาก เพราะ WSUS จะดาวน์โหลดอัพเดตไฟล์ทุกอย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ในขณะที่เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์จะดาวน์โหลดอัพเดตไฟล์ที่จำเป็นเฉพาะ เครื่องไปเท่านั้น การตั้งค่าที่เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์นั้น จะต้องทำการแก้ไขระบบปฏิบัติการให้ดาวน์โหลดอัพเดตไฟล์จากเครื่อง เซิร์ฟเวอร์ WSUS ในองค์กรแทนการดาวน์โหลดอัพเดตไฟล์จาก Microsoft Update เมื่อแก้ไขเสร็จแล้วที่แท็บ Automatic Updates จะไม่สามารถแก้ไขตัวเลือกใดๆ ได้ (วิธี Microsoft Update สามารถตั้งค่าการอัพเดตตามวัน เวลา ที่ต้องการได้) เพราะผู้ดูแลระบบจะตรวจสอบอัพเดตไฟล์ก่อนแล้วจึงปล่อยสู่เครื่องไมโคร คอมพิวเตอร์อีกชั้นหนึ่ง ซึ่ง WSUS จะช่วยเครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ภายในองค์กรได้รับการอัพเดตไฟล์และปิดช่อง โหว่เหมือนกันหมด และ WSUS ยังช่วยป้องกันการเกิดทราฟฟิกของอินเทอร์เน็ตจากการดาวน์โหลดอัพเดตไฟล์ของ ไมโครคอมพิวเตอร์สู่ Microsoft Update โดยตรง

Leave a Reply