Thin Provisioning

ปัญหาเรื่อง Storage ไม่พอใช้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตลอด และอีกปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันคือการจองเนื้อที่บน Storage โดยไม่ได้ใช้งาน หลังจากการนำ SAN, NAS หรือ iSCSI เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องความไม่คุ้มค่าในการใช้ DAS ก็เกิดปัญหาการจองเนื้อที่เกินความจำเป็นเผื่อไว้สำหรับการขยายในอนาคต เช่น Files Server จะต้องเผื่อเนื้อที่ไว้สำหรับอีก 3 ปีข้างหน้า ซึ่งแน่นอนไม่มีใครต้องการให้เนื้อที่ไม่พอใช้อาจจะเผื่อไว้ 2-3 เท่า ซึ่งบางครั้งเมื่อผ่านไป 3 ปีข้อมูลไม่ได้ขยายไปเกิน 2 เท่า ปัญหานี้ทำให้องค์กรต้องจ่ายงบประมาณจำนวนมากออกไปโดยไม่มีประโยชน์เลย

Thin Provisioning เข้ามาแก้ปัญหานี้โดยตรงและมีประสิทธิภาพ เจ้าหน้าที่ IT สามารถจองเนื้อที่ตามที่ต้องการจะเผื่อไว้กี่เท่าก็ได้ แต่การจอง Disk บน Storage จะใช้เท่ากับการใช้งานจริง เช่น Disk ของ Files Server ตั้งไว้ 2TB ซึ่ง OS เห็นเป็น 2TB แต่การจองบน Storage เท่ากับข้อมูลที่มีอยู่จริงเช่น 500GB ซึ่งใน Storage อาจจะมีพื้นที่จริงทั้งหมดเพียงแค่ 1TB เมื่อ Storage ใกล้เต็มค่อยซื้อ Disk มาใส่เพิ่มทีหลัง จากตัวอย่างแค่ Server 1 เครื่อง แต่ในแต่ละองค์กรอาจจะมี Server มากถึง 30 เครื่อง ซึ่งสามารถประหยัดพื้นที่บน Storage ได้เป็นจำนวนมาก

2010-01-24_13-20-19.jpg

จากภาพจะเห็นได้ว่า Disk จริง ๆ มีเพียง 100GB แต่มีการแบ่ง Disk ให้ VM ทั้งหมดรวม 120GB ซึ่งมากกว่า Disk จริง ๆ ที่มี
เนื่องจาก Disk ก้อนแรกเป็นแบบ Thick จึงใช้เนื้อที่ไป 20GB ตามที่จองไว้ ส่วนก้อนที่ 2 ใช้ Thin จองไว้ 40GB แต่ใช้จริง 20GB ส่วนก้อนที่ 3 ใช้ Thin จองไว้ 80GB แต่ใช้จริง 40GB เมื่อรวมเนื้อที่ที่ใช้จริง ๆ เพียงแค่ 80GB ซึ่งเนื้อที่ 100GB จึงเพียงพอสำหรับการใช้งาน

ประสิทธิภาพ
จากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่าง Thin Provisioning กับ Thick Provisioning (การจองเนื้อที่ Disk แบบเดิม)  ใน VM ที่มีการใช้งาน I/O ของ Disk จำนวนมากบน vSphere ไม่เห็นความแตกต่างด้านประสิทธิภาพชัดเจน ตามเอกสารอ้างอิงของ vmware

ที่มา ภาพประกอบจาก vmware

Leave a Reply