วิธีลดจำนวน core ของ cpu

บทความระยะนี้ค่อนข้างจะ technical การทำตามควรใช้ความระมัดระวังหน่อยครับ
แต่ถ้าอ่านให้เข้าใจและทำตามขั้นตอนก็ไม่มีปัญหาครับ

ทุกวันนี้ CPU ใหม่ๆ ของ Server มักจะมาเป็น 6 core แล้ว ซึ่งอาจจะมี software บางตัวที่ใช้งานไม่ได้เลย หรือบางตัวที่ต้องมีการอัพเดตเพื่อให้รองรับ CPU ที่มีมากกว่า 4 core ที่ผมเคยเจอก็ SQL 2005 ที่ต้องลง SP2 ถึงจะรองรับ CPU ที่มากกว่า 4 core

error ของ SQL 2005 ที่เจอตอนติดตั้งคือ

The SQL Server service failed to start. For more information, see the SQL Server Books Online topics, “How to: View SQL Server 2005 Setup Log Files” and “Starting SQL Server Manually.” Continue reading “วิธีลดจำนวน core ของ cpu”

ปัญหา DC2008 เข้า share folder ด้วย NetBIOS name

ปัญหา domain controller บน Windows 2008 ไม่สามารถเข้า share folder ผ่าน NetBIOS name (sharename) ได้แต่เข้าผ่าน DNS name (sharename.domain.local) ได้ปกติ ปัญหานี้จะเกิดเฉพาะกับ Domain Controller ที่ถือ PDC FSMO role เอาไว้ วิธีแก้ปัญหาคือต้องเข้าไปแก้ Computer Browser service ใน Services ให้ Startup Type เป็น Automatic แล้วต้อง Restart Server การเข้าไป start service อย่างเดียวไม่สามารถใช้งานได้ หรืออีกวิธีคือย้าย PDC FSMO role ไปไว้ที่ Domain Controller เครื่องอื่น

ที่มา Technet

แก้ปัญหา client หายไปจาก WSUS

ปัญหาหนึ่งของ WSUS ที่อาจจะเจอคือ Client หาย สาเหตุเกิดจากการ clone หรือ ghost เครื่องทำให้เครื่องเหล่านี้มี SusClientId เหมือนกัน พอเพิ่มเครื่องใหม่เข้ามาเครื่องเก่าก็เลยหายไป วิธีแก้ง่ายๆ โดยการ copy script ข้างล่างนี้สร้าง bat ไฟล์ไปรันทุกเครื่องอาการนี้ก็หายไปครับ ผมใช้กับ windows xp กับ windows 2003 แก้ได้เรียบร้อยครับแต่ยังไม่เคยลองบน windows 7 หรือ windows 2008

@echo off
Echo Save the batch file "AU_Clean_SID.cmd". This batch file will do the following:
Echo 1.    Stop the wuauserv service
Echo 2.    Delete the AccountDomainSid registry key (if it exists)
Echo 3.    Delete the PingID registry key (if it exists)
Echo 4.    Delete the SusClientId registry key (if it exists)
Echo 5.    Restart the wuauserv service
Echo 6.    Resets the Authorization Cookie
Pause
@echo on
net stop wuauserv
REG DELETE "HKLMSOFTWAREMicrosoftWindowsCurrentVersionWindowsUpdate" /v AccountDomainSid /f
REG DELETE "HKLMSOFTWAREMicrosoftWindowsCurrentVersionWindowsUpdate" /v PingID /f
REG DELETE "HKLMSOFTWAREMicrosoftWindowsCurrentVersionWindowsUpdate" /v SusClientId /f
net start wuauserv
wuauclt /resetauthorization /detectnow
Pause

ที่มา: http://msmvps.com/blogs/athif/archive/2005/09/04/65174.aspx

Migrate DC 2003 to 2008

ลูกค้ารายใหม่ต้องการใช้งาน HP Blade Server แทน Domain Controller เดิมที่ใช้บน Rack Server ได้เสนอให้ลูกค้าใช้ VMware โดยใน Phase แรกยังไม่ต้องซื้อ Share Storage เนื่องจากเตรียมงบไว้แค่เปลี่ยน Server

Customer Requirement

  1. ติดตั้ง HP Blade Server
  2. ติดตั้ง VMware vSphere 4.1 u1
  3. Migrate DC 2003 to 2008 R2
  4. ย้าย Print Server
  5. การใช้งาน Access Point ต้อง authenticate กับ AD สำหรับพนักงาน ส่วนบุคคลภายนอกให้ใช้อินเตอร์เน็ตได้อย่างเดียว
  6. reconfigure Exchange 2003 ให้สามารถใช้งาน Exchange Client บน Mobile Device ได้

Customer Concern

  1. ระบบ mail ต้องใช้งานได้ตลอดเวลา

Process

  1. ติดตั้ง HP Blade Enclosure และ HP Blade Server สำหรับ vCenter 1 เครื่อง และ ESX 2 เครื่อง
  2. สร้าง template Windows 2008 R2
  3. ทดสอบ migrate DC โดยใช้ VMware Converter ย้ายจากเครื่องจริงมาเป็น VM
  4. migrate DC 2003 เป็น 2008 R2 โดยให้มี DC 2 เครื่อง
  5. ติดตั้ง DHCP, WINS, DNS, NPS
  6. ติดตั้ง Driver Printer ทั้งหมดไปยัง Print Server ใหม่
  7. ใช้ GPO เพื่อติดตั้ง Printer ไปยัง client และถอน printer เก่าออกไป
  8. ตั้งค่า AP และ VLAN ที่ Switch ใหม่ให้รองรับ Multi SSID และเปิดใช้งาน WPA
  9. ตั้งค่า NPS ให้เครื่องที่ join domain ไม่ต้อง login ส่วนเครื่องอื่นๆ จะต้อง login เพื่อใช้งาน wireless
  10. ติดตั้ง pfSense เพื่อเป็น gateway สำหรับบุคคลภายนอก
  11. ตั้งค่า Exchange 2003 ที่ใช้งานอยู่แล้วให้รองรับ Exchange Client บน iPhone, iPad และ Android
  12. ติดตั้ง VDR เพื่อ backup ระบบ

Problem

  1. DC เครื่องเก่าใช้ Dynamic disk และ Hard disk เสีย 1 ลูก ทำให้ใช้เวลา convert ไปเป็น VM นาน
  2. Printer Server ใหม่เป็น Windows 2008 R2 การหา Driver 64bit ยาก
  3. ที่นี่เป็นลูกค้าใหม่ต้องใช้เวลาในการเช็คระบบต่างๆ

Windows 7 copy ไฟล์ผ่าน network ให้เร็วขึ้น

สำหรับคนที่ใช้ Windows 7 บน Gigabit Switch ถ้าสังเกตุจะเห็นว่าสามารถ copy ไฟล์ได้เร็วขึ้นกว่า 100Mb Switch ค่อนข้างชัดเจน แต่ถ้าสังเกตุดูจะเห็นว่าความเร็วที่ได้จะไม่เกิน 30MB/s ทั้งที่จริงๆแล้วควรจะได้ประมาณ 128MB/s

วิธีเพิ่มความเร็ว

  • ไปที่ Start > All Programs > Accessories  คลิกขวาที่ Command Prompt เลือก Run as administrator
  • พิมพ์ netsh interface tcp set global autotuninglevel=disabled จากนั้น restart เครื่อง

เท่านี้ความเร็วจะเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 60MB/s Continue reading “Windows 7 copy ไฟล์ผ่าน network ให้เร็วขึ้น”