Vmware Data Recovery (VDR) เป็นระบบ Backup ของ VMware มาพร้อม Vsphere ตั้งแต่ Advanced ขึ้นไป โดย VDR Server จะเป็น VM ตัวหนึ่งใน ESX แต่ถึงระบบทั้งหมดจะมีปัญหา ก็ยังสามารถติดตั้ง ESX และ VDR Server ใหม่ แล้วไปเรียก Data ที่ Backup ไว้เพื่อ Restore ไปยังที่ใหม่ได้
Category: Virtualization
Virtualization กลายเป็นส่วนประกอบสำคัญในแทบจะทุกองค์กร
สรุปงานภูเก็ต
งานหลัก: ไป power on Server และ Storage เพื่อสร้าง vm สำหรับโปรแกรม HR
งานเพิ่มเติม: Convert Server มาเป็น vm 1 เครื่อง
ปัญหา
- DC ซึ่งอยู่ใน ESX ไม่ได้ตั้ง Auto Start ทำให้ VC มองไม่เห็น ESX ทั้ง 2 เครื่อง
- VC ไม่ได้ตั้งให้รอ SQL Server
- Server ที่เอามา Convert ไม่สมบูรณ์ ใช้ Hot Clone ไม่ได้
การแก้ไข
- ตั้ง DC ให้ Auto Start
- ให้ VC รอ SQL Server Service
- ทางลูกค้าบอกว่าถ้า Server ไม่สมบูรณ์ค่อย new install หรือใช้ Clone Clone ไปก่อน
สรุปงาน
- โปรแกรม HR ติดตั้งเรียบร้อย
- สร้าง vm ใหม่มาสำหรับ new install server ที่ต้องการ convert
วิธีตั้งค่า vmware สำหรับ Microsoft NLB
1. วิธีการตั้งค่า Port Group สำหรับการทำ Microsoft Network Load Balancing(NLB) แบบ Unicast เพื่อป้องกันปัญหา RARP
- Log on เข้า VI Client เลือก ESX ที่ต้องการ
- คลิกที่ Configuration tab
- เข้าไปที่ Networking and, for the virtual switch, เลือก Properties
- ตรง Ports tab เลือก port group และคลิก Edit
- คลิก NIC Teaming tab ตั้ง Notify Switches เป็น No
- คลิก OK และปิด vSwitch Properties dialog box
2. สำหรับการทำ Microsoft Network Load Balancing(NLB) แบบ Multicast ไม่ต้องกำหนดค่าใด ๆ เพิ่มเติม
Thin Provisioning
ปัญหาเรื่อง Storage ไม่พอใช้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นตลอด และอีกปัญหาที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันคือการจองเนื้อที่บน Storage โดยไม่ได้ใช้งาน หลังจากการนำ SAN, NAS หรือ iSCSI เข้ามาแก้ปัญหาเรื่องความไม่คุ้มค่าในการใช้ DAS ก็เกิดปัญหาการจองเนื้อที่เกินความจำเป็นเผื่อไว้สำหรับการขยายในอนาคต เช่น Files Server จะต้องเผื่อเนื้อที่ไว้สำหรับอีก 3 ปีข้างหน้า ซึ่งแน่นอนไม่มีใครต้องการให้เนื้อที่ไม่พอใช้อาจจะเผื่อไว้ 2-3 เท่า ซึ่งบางครั้งเมื่อผ่านไป 3 ปีข้อมูลไม่ได้ขยายไปเกิน 2 เท่า ปัญหานี้ทำให้องค์กรต้องจ่ายงบประมาณจำนวนมากออกไปโดยไม่มีประโยชน์เลย Continue reading “Thin Provisioning”
สรุปงาน ปัญหา ESX ทำงานช้า
เริ่มต้นลูกค้าแจ้งว่า ESX 3.5 ทำงานช้าลงมากหลังจาก Convert Oracle 10G R2 เข้ามา
สิ่งที่เจอ
- มี VM ทั้งหมด 60 เครื่อง
- หลังจากมี Oracle เข้ามาในระบบการ Access Disk สูงขึ้นเกือบ ๆ เท่าตัวแต่ยังไม่สูงมาก
- การเปิด VM ขึ้นมาใช้เวลามากกว่า 10 นาที
- การ Copy VMDK 10GB ใช้เวลาเกิน 20 นาที
- ในระบบมี SCSI กับ SATA อยู่ด้วยกันใน MSA 1500
- มีหลาย VM ที่มี Disk อยู่ใน Luns มากกว่า 1 Luns
- MSA20 (SATA) มีปัญหาไม่สามารถ Rebuild Luns ที่มีปัญหาได้หลังจากเปลี่ยน Disk
- MSA 1500 Crash โดยไม่ทราบสาเหตุ 3-4 ครั้งในรอบ 3เดือน
- MSA 1500 Firmware 5.20 A/P
การวิเคราะห์ปัญหา
- MSA 1500 มีปัญหา
- Disk ของ VM อยู่หลาย Luns ทำให้ทำงานหนัก
- SATA ทำให้ระบบหน่วง
- Performance ของ MSA 1500 ต่ำเกินไป
แนวทางการแก้ปัญหา
- แจ้งซ่อมไปทาง HP ซึ่งทาง HP บอกว่าต้อง Update Firmware เป็น Version ล่าสุดก่อนถึงจะยอมเปลี่ยน Hardware
- Convert VM ให้ Disk ทุกก้อนอยู่ใน Luns เดียวกันใน SCSI และไม่ใช้ SATA โดยจะนำ SATA ไปใช้ Backup VM
- สั่ง MSA 2000 มาเพิ่มเนื่องจากมีแผนขยายระบบเพิ่ม แต่ MSA1500 ใส่ Disk เต็มแล้ว
- Upgrade ESX 3.5 ไปเป็น 4.0 u1
- Update Firmware MSA 1500 เป็น 7.10 A/A เพื่อเพิ่ม I/O
ขั้นตอนการปฏิบัติงาน
- Convert VM ทั้งหมดให้มาอยู่ใน SCSI และให้ Disk อยู่ใน Luns เดียวกัน
- Backup VM ทั้งหมดเก็บไว้เนื่องจากไม่เคยมีการ Backup มาเกือบ 2ปี
- หลังจาก Backup เรียบร้อยเกิดปัญหา Controller A ใน MSA 1500 หน้าจอดับ แจ้งทาง HP มาเปลี่ยน
- หลังจากเปลี่ยน Controller ปรากฏว่า Performance กลับมาปกติเหมือนก่อนที่ระบบจะเริ่มช้า
- สรุปได้ว่าปัญหาเกิดจาก Controller A มีปัญหาแต่ไม่มีการแจ้งเตือนใด ๆ
- Upgrade เป็น ESX 4.0 u1 เกิดปัญหา ESX มองไม่เห็น Luns ทั้งหมด
- ทำการ Update Firmware MSA 1500
- เกิดปัญหา ESX เป็น Luns ทั้งหมดเป็น Snapshot เนื่องจากคิดว่าเป็น Luns ใหม่แต่ UUID เดิม
- หลังจากแก้ไขปัญหาเรียบร้อยทำการปรับแต่ง Storage และ Network เพื่อเพิ่ม Performance
- Update VM ไปเป็น V7
สรุป
Performance ของ VM ทั้งหมดสูงกว่าการติดตั้งครั้งแรกมาก เนื่องจาก ESX 4.0, Storage A/A