ESXi 5.1 เปิดใช้งาน Copy & Paste

ตั้งแต่ ESXi 4.1 การ copy และ paste จาก notebook ไปยัง VM ผ่าน vSphere Client โดนปิดไว้เพื่อความปลอดภัย แต่ก็สามารถเปิดเป็นบางเครื่อง หรือเปิดใช้งานทุกเครื่องก็ได้ วิธีนี้ทดสอบกับ ESXi 5.1 ก็ใช้งานได้ครับ

วิธีเปิดใช้งานบาง VM

  1. Power off VM ที่ต้องการ
  2. Edit Settings > Options > Advanced > General > Configuration Parameters
  3. คลิก Add Row แล้วใส่ค่าเหล่านี้ลงไปตามรูป
    isolation.tools.copy.disable    false
    isolation.tools.paste.disable   false
  4. OK > OK
  5. Power On VM

เปิดใช้งานทุก VM

  1. Login ผ่าน Shell หรือ SSH
  2. Backup ไฟล์ /etc/vmware/config
  3. เพิ่มบรรทัดเหล่านี้ลงไปในไฟล์ /etc/vmware/config
    isolation.tools.copy.disable=”FALSE”
    isolation.tools.paste.disable=”FALSE”
  4. หลังจาก Restart VM ถึงจะใช้งาน Copy & Paste ได้

Install VMware Tools บน Ubuntu Server

Ubuntu Server with only a Command Line Interface

  1. Go to Virtual Machine > Install VMware Tools (or VM > Install VMware Tools).Note: If you are running the light vesion of Fusion, or a version of Workstation without VMware Tools, or VMware Player, you are prompted to download the Tools before they can be installed. Click Download Now to begin the download.
  2. In the Ubuntu guest, run these commands:
    • sudo mkdir /mnt/cdrom 

      When prompted for a password, enter your Ubuntu admin user password.Note: For security reasons, the typed password is not displayed. You do not need to enter your password again for the next five minutes.

    • sudo mount /dev/cdrom /mnt/cdrom 

      The file name of the VMware Tools bundle varies depending on your version of the VMware product. Run this command to find the exact name:

    • ls /mnt/cdrom 
    • tar xzvf /mnt/cdrom/VMwareTools-<x.x.x-xxxx>.tar.gz -C /tmp/

      Note<x.x.x-xxxx> is the version discovered in the previous step.
    • cd /tmp/vmware-tools-distrib/
    • sudo ./vmware-install.pl -dNote: The -d switch assumes that you want to accept the defaults. If you do not use -d, press Return to accept each default or supply your own answers.
  3. Run this command to reboot the virtual machine after the installation completes:sudo reboot

VCENTER ไม่แสดงกราฟ Performance

ปัญหาการไม่แสดงกราฟ Performance ใน VCENTER เกิดได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งการค้นหาจากเว็บไซต์ต่างประเทศจะมีประเด็นสำคัญอยู่ 2 เรื่องคือ

  1. การเปลี่ยน Database แล้วไม่ได้จัดการเรื่อง stored procedures
  2. เวลาใน ESX และ VCENTER ไม่ตรงกัน

แต่ผมเจอประเด็นใหม่คือไม่มีปัญหาเรื่องเวลาและ stored procedures เมื่อตรวจสอบใน database ก็มีการเก็บข้อมูลเรียบร้อยแต่แสดงผลได้เฉพาะในหน้า Advanced ส่วนในหน้า Overview แสดงผลไม่ได้จะแสดงข้อความว่า no data available เท่านั้น

ซึ่งปัญหานี้เกิดจากทางลูกค้ามีการติดตั้งภาษาไทยเอาไว้บน Windows 2008 R2 และ MS SQL 2008 R2 ซึ่งหลังจากเปลี่ยนค่า Formats และ System Local ใน Region and Language ให้กลับไปเป็นภาษาอังกฤษก็สามารถแสดงผลได้ปกติครับ

ทดสอบ HP Lefthand P4300 กับ ESXi

HP Lefthand P4300 มาทดสอบกับ vSphere 4.1 ตอนนี้เพิ่งทดสอบกับตัว ESXi ผลที่ออกมาค่อนข้างดี

สิ่งที่ใช้

  1. Server 1 เครื่อง ติดตั้ง ESXi 4.1
  2. HP Lefthand P4300 2 เครื่อง
  3. HP Procurve 2510G-24 (Gigabit Switch)

การตั้งค่า

  1. ใน ESXi ให้ iSCSI ใช้ nic แยกกับ VM
  2. ใน HP Lefthand ใช้ Disk RAID 5 และ Network RAID 10 ทำให้ Disk สามารถเสียได้เครื่องละ 1 ก้อน หรือเครื่องสามรถเสียได้ 1 เครื่อง

ผลการทดสอบ

  1. การใช้งาน VM ที่อยู่บน iSCSI ความเร็วปกติ แต่เนื่องจากการทดสอบไม่ได้ทำงานหนักมาก ถ้าเครื่องที่ต้องใช้ Disk ทำงานหนัก ๆ ไม่แน่ใจจะว่าหน่วงหรือเปล่า
  2. ทดสอบถอดสายแลนของ Lefthand เครื่องหนึ่งออก Ping ไม่มี Time Out
  3. แต่หนัง HD ที่เปิดอยู่ใน VM ค้างไปราวๆ 38 วินาที ซึ่งตอนที่ค้าง Marker บน Seek bar ก็ขยับไปเรื่อยๆ เหมือนหนังยังเล่นอยู่ พอกลับมาก็เล่นต่อไปเลย ไม่ใช่ว่ากลับไปเล่นจากตอนที่เริ่มค้าง
  4. ตอนที่หนังที่เปิดอยู่ค้างไป VM ยังใช้งานได้
  5. ลองใช้ PC เปิด File หนัง HD ที่อยู่ใน VM ดูก็เป็นเหมือนกัน
  6. ลองเอาสายแลนจาก Lefthand เครื่องที่ถอดออกไปเสียบกลับเข้ามาใหม่ รอจน ping เจอแล้วถอดสายของ Lefthand อีกเครื่องที่ใช้งานอยู่ VM ก็ไม่หลุด ส่วนหนัง HD ก็ค้างเหมือนกัน

เดี๋ยวจะลองทดสอบกับ vSphere 4.1 แบบมี DRS ดูอีกครั้ง ว่าผลเป็นอย่างไรบ้าง

Gateway โรงเรียน

ผมเพิ่งจบงาน gateway สำหรับโรงเรียน จากจุดเริ่มต้นแค่ปรับปรุงระบบ network ให้เสถียรขึ้น ก็ขยายมาจนถึงทำ gateway ให้ลูกค้าด้วย ซึ่งระบบที่เลือกใช่อาจจะดูใหญ่ไปซักหน่อยเนื่องจากว่ามีผู้ใช้งานมากกว่า 2000 คน แต่ใช้งานพร้อมกันไม่น่าจะเกิน 300 คน ซึ่งระบบที่เลือกใช้ก็คือ

  1. VMware ESXi 4.1 ทำ virtualization เพราะระบบนี้ต้องใช้ Server 5 เครื่อง แต่ใช้ performance ค่อนข้างน้อย
  2. Microsoft Active Directory, IAS, DNS, DHCP, CA, WSUS, IISADMPWD เนื่องจากมี User ที่เป็นนักเรียนเป็นจำนวนมาก มีการเข้าออกทุกปีเป็นจำนวนมาก การใช้ Radius ตัวอื่นอาจจะไม่สะดวกกับครูที่ต้องจัดการเรื่องนี้ และเพื่อเป็นการเตรียมการไว้เผื่อจะมีการใช้งาน Active Directory เต็มระบบในอนาคต นอกจากนี้ก็เพิ่ม WSUS เข้ามาเพื่อลด bandwidth ในการ Download Patch
  3. pfSense, squid, captive portal โดยให้ไป authenticate กับ AD ผ่าน IAS หลังจากทดลองใช้มาระดับหนึ่งผมยังค่อนข้างพอใจ gateway ตัวนี้อยู่
  4. Kiwi Syslog ใช้ตัวฟรีเพราะต้องการแค่เก็บ Logs ไว้ตาม พรบ.คอมพิวเตอร์ สำหรับการดูการใช้งานของนักเรียนก็ดูจาก lightsquid สะดวกกว่า
  5. L3 Switch เพราะมีอยู่ 10 VLAN ตามกลุ่มการใช้งาน

ผลจากการใช้งานระบบนี้ก็คือ

  1. ครูสามารถจัดการชื่อผู้ใช้ผ่าน Active Directory ซึ่งเป็น GUI และสามารถแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มตามชั้นปี และห้องเรียนได้
  2. ในการใช้งานอินเตอร์เน็ตนักเรียนจะต้องกรอก username และ password เพื่อยืนยันตัวตน
  3. นักเรียนสามารถเปลี่ยน Password ได้เอง
  4. มีการแสดงกราฟการ bandwidth และการเข้า website ของแต่ละ User เพื่อบริหารการใช้งานอินเตอร์เน็ต
  5. มีการเก็บ log ตามพรบ.คอมพิวเตอร์