VMware Purple Screen

ปัญหา Purple Screen ของ VMware เป็นปัญหาที่ไม่ค่อยเจอ แต่ถ้าเป็นแล้วมันจะเกิดขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่มักจะเป็น Bug วิธีแก้เบื้องต้น Update vCenter, ESXi และ Firmware Server ซึ่งส่วนใหญ่จะหาย

แต่ผมก็เคยเจอเคสที่มีปัญหาจาก VMFS Filesystem ทำให้เกิด Purple Screen ทุกครั้งที่มีการ R/W มากกว่าปกติ เช่นย้ายไฟล์ใหญ่ๆ โดยวิธีแก้ควรจะย้าย VM ทั้งออกจาก Datastore ที่มีปัญหา จากนั้น Unmount Datastore แล้ว Fix Error ซึ่งผมเปิด Case ให้ VMware มา Fix ให้

VOMA สำหรับเช็ค filesystem Using vSphere On-disk Metadata Analyzer (VOMA) to check VMFS metadata consistency (2036767) (vmware.com)

System Install June 2021 : ย้าย VM จาก 3Par ไป dHCI

ลูกค้าเปลี่ยน Server และ Storage จาก 3Par เป็น DHCI ซึ่งเป็นการเปลี่ยนจาก Fiber มาเป็น iSCSI ข้อจำกัดที่เจอคือ Server ของระบบเดิมไม่มีการ์ด 10Gb ซึ่ง Nimble รองรับ 10Gb ขึ้นไป

ขั้นตอนการเตรียมงาน

  1. ออกแบบ Layout ตู้ Rack เพราะต้องเอาระบบเดิมออกจาก Rack หลังจากย้ายข้อมูลแล้ว แต่ทั้ง 2 ระบบจะต้องอยู่ร่วมกันจนกว่าจะย้ายเสร็จ โดยพยายามย้ายให้น้อยที่สุด
  2. นำระบบ dHCI เข้าตู้และเปิดใช้งาน
  3. Upgrade dHCI เป็น vSphere 7.02 ก่อนจะเริ่มย้าย VM เพื่อลดความเสี่ยงที่เกิดจากการ Upgrade
  4. ใช้ ESXi จากระบบเก่า 1 เครื่องเป็น Proxy ที่ใช้ย้าย VM โดยเพิ่มการ์ด 10Gb ในเครื่องนี้
  5. เพิ่มเครื่อง Proxy ไปยัง Host ของ Nimble
  6. vMotion VM มายังเครื่อง Proxy แล้วใช้ Storage vMotion ย้ายไป Nimble
  7. vMotion VM ไปยัง Server บน dHCI
  8. Upgrade VMwaretools

การ Backup เพื่อให้ง่ายในการจัดการเลยใช้ VEEAM จัดการ Backup Snapshot แทนที่จะใช้บน Nimble โดยตรง

  1. ใช้ VEEAM Backup VM Snapshot ไว้บน Nimble
  2. ใช้ VEEAM Backup VM ไว้บน VEEAM Server
  3. ใช้ VEEAM Backup Copy ไปไว้บน Storeonce เพื่อเก็บรายสัปดาห์ รายเดือน รายปี

Veeam Backup & Replication Community Edition ฟรีสำหรับ 10 Server

สำหรับองค์การที่มี Phycical และ Virtual Server รวมกันไม่เกิน 10 เครื่อง นำมาใช้งานได้ฟรี โดยความสามารถเพียงพอสำหรับการใช้งานทั่วไป แต่ถ้าใช้ 11 เครื่อง ก็ต้องซื้อทั้ง 11 เครื่องไม่ใช่ซื้อเพิ่มแค่ 1 ครับ

สิ่งที่ต้องมีคือ Server สำหรับติดตั้ง VEEAM 1 เครื่อง

  • Backup Application-aware, Physical, VM, Windows, Linux
  • Restore Full Server, File, Application Object

ผมว่าองค์กรเล็กๆ ซื้อ PC มาซักเครื่องติดตั้ง VEEAM ก็ได้ Backup Software ดีๆ มาใช้แล้วดีกว่าข้อมูลหายแล้วไม่มี Backup ครับ

วิธีคิด Licensed ของ Windows Server 2016/2019 บน VMware vMotion

หลายคนสับสนกับการคิด Licensed ของ Windows Server อยู่แล้ว แถมมาเจอกรณีที่ใช้ vMotion เข้าไปอีก เท่าที่ผมนั่งอ่านเอกสารจาก Microsoft พอสรุปได้ว่า

  1. Physical Server 1 เครื่องอย่างน้อยต้องมี 16 Core Licensed (ถ้าเครื่องมีน้อยกว่า 16 Core ก็ต้องซื้อ 16 ถ้ามีมากกว่า 16 Core ก็ต้องซื้อเพิ่มให้ครบตามจำนวน Core รวมทั้งหมด)
  2. Licensed บน 1 Physical Server ที่ต้องซื้ออย่างน้อย 16 Core ใช้ได้ไม่เกิน 2 CPU และถ้าจำนวน Core ทั้ง 2 CPU รวมกันเกิน 16 Core ก็ต้องซื้อเพิ่มให้ครบเท่ากับจำนวน Core รวมทั้งหมด
  3. ถ้ามี Physical Server มีมากกว่า 2 CPU ต้องซื้อ Licensed เพิ่มสำหรับ CPU อย่างน้อย CPU ละ 8 Core และต้องซื้อเพิ่มให้ครบเท่ากับจำนวน Core รวมทั้งหมด
  4. ยกตัวอย่าง
    1. มี 1 CPU 8 Core ต้องซื้อ Licensed 16 Core
    2. มี 1 CPU 20 Core ต้องซื้อ Licensed 16+4 Core
    3. มี 2 CPU 4+4 Core ต้องซื้อ Licensed 16 Core
    4. มี 2 CPU 20+20 Core ต้องซื้อ Licensed 16+4+20 Core
    5. มี 4 CPU 4+4+4+4 Core ต้องซื้อ Licensed 16+8+8 Core
    6. มี 4 CPU 20+20+20+20 Core ต้องซื้อ Licensed 16+4+20+20+20 Core

บน Physical Server มีแค่นี้จะใช้ Datacenter หรือ Standard ก็ขึ้นอยู่กับ Feature ที่จะใช้งาน

การคิด Licensed บน VMware ซึ่งเป็นเรื่องที่หลายคนไม่เข้าใจ

  1. ถ้าคุณซื้อ Datacenter ให้ซื้อเท่ากับจำนวน Server ที่ติดตั้ง ESXi โดยคิดจำนวน Licensed แบบ Physical Server เลย ไม่นับว่าคุณจะมี VM ใช้งานอยู่เท่าไหร่
  2. ถ้า ESXi คุณมี 1 CPU 16 Core ซื้อ Standard 16 Core ใช้ได้ 2 VM บน Physical Server เดียวกันเท่านั้น ถ้ามี 4 VM ก็ต้องซื้อ 32 Core, 6 VM ต้องซื้อ 48 Core เป็นต้น
  3. ยกตัวอย่าง ESXi แต่ละเครื่องมี 1 CPU 16 Core ตามข้างล่างนี้ คุณต้องซื้อ Licensed 144 Core
    1. ESXi1 มี 5 VM ใช้ Licensed 48 Core (ใช้ได้สูงสุด 6 VM)
    2. ESXi2 มี 7 VM ใช้ Licensed 64 Core (ใช้ได้สูงสุด 8 VM)
    3. ESXi3 มี 3 VM ใช้ Licensed 32 Core (ใช้ได้สูงสุด 4 VM)
  4. ถ้าคุณใช้ vMotion แต่ละ Physical Server จะต้องมี Licensed เท่ากับจำนวน VM มากที่สุดที่จะมาใช้งานบน Physical Server เครื่องนั้น เพราะ Licensed ของ Windows Server ไม่ได้ติดอยู่กับ VM แต่ติดอยู่ที่ Physical Server
  5. ยกตัวอย่างจากข้อที่ 3 ถ้าคุณต้องการเผื่อ Licensed ไว้กรณีจะย้าย VM ออกจาก ESXi เพื่อ Maintenance ก็ต้องดูเครื่องที่มี VM มากที่สุดคือ ESXi2 ต้องซื้อ Licensed เพิ่มให้ ESXi อีกเครื่องละ 16+0+32 Core เพื่อมี Licensed ไว้รองรับกรณีที่ต้อง Shutdown เครื่องใดเครื่องหนึ่ง และต้องระวังไม่ให้ VM ที่อยู่ในแต่ละ ESXi เกิน Licensed ที่รองรับ คุณต้องซื้อ Licensed 192 Core
    1. ESXi1 มี 5 VM ใช้ Licensed 64 Core (ใช้ได้สูงสุด 8 VM)
    2. ESXi2 มี 7 VM ใช้ Licensed 64 Core (ใช้ได้สูงสุด 8 VM)
    3. ESXi3 มี 3 VM ใช้ Licensed 64 Core (ใช้ได้สูงสุด 8 VM)
  6. บางที่อาจจะซื้อโดยเอาจำนวน VM ทั้งหมด หาร 2 และคูณจำนวน ESXi เลยเพื่อป้องกันความผิดพลาด อย่างกรณีตัวอย่างจากข้อ 3 คือมี 15 VM คุณต้องซื้อ Licensed 348 Core (16/2x16x3) ต้องคิด 16 เพื่อหาร 2 ลงตัว

สำหรับกรณีที่ ESXi แต่ละเครื่องมีมากกว่า 1 CPU หรือ CPU มีมากกว่า 16 Core

  1. ESXi มี 1 CPU 20 Core คุณจะต้องซื้อ Licensed 20 Core ต่อ 2 VM (10 VM ต้องซื้อ 100 Core)
  2. ESXi มี 2 CPU แต่ละ CPU มี 16 Core คุณจะต้องซื้อ Licensed 32 Core ต่อ 2 VM (10 VM ต้องซื้อ 160 Core)
  3. ESXi มี 4 CPU แต่ละ CPU มี 20 Core คุณจะต้องซื้อ Licensed 80 Core ต่อ 2 VM (10 VM ต้องซื้อ 400 Core)

กรณีที่มี SA แล้วย้าย Licensed ได้ แต่สำหรับ Server จะทำได้แค่ 90 วันต่อ 1 ครั้งเท่านั้นครับ

การซื้อ Client Access Licenses (CAL)
สำหรับการเข้าใช้งาน Windows Server จากเครื่อง Client จะต้องมี CAL สำหรับทุกเครื่องหรือทุก User ที่เข้ามาใช้งาน โดย CAL ที่มีจะเข้าใช้งาน Server ได้ทั้งหมดในองค์กรที่ Version เท่ากันหรือต่ำกว่า CAL เช่นถ้ามี CAL Windows Server 2019 ก็ใช้งาน Windows Server 2019 ลงไปได้ทั้งหมด โดย CAL มี 2 แบบให้เลือกใช้ควรเลือกซื้อแบบที่จำนวนน้อยกว่า

  1. User CAL ให้ใช้แบบนี้กรณีที่ User มีมากกว่า 1 Device เช่น User 1 คนมี PC, Smart Phone, Notebook
  2. Device CAL ใช้กรณีที่มี Device มากกว่า User เช่นห้องเรียนที่มีคนหมุนเวียนมาใช้, การทำงานเป็นกะ, ห้องฝึกอบรม เป็นต้น

ที่มา

http://download.microsoft.com/download/3/D/4/3D42BDC2-6725-4B29-B75A-A5B04179958B/WindowsServer2016VirtualTech_VLBrief.pdf

https://download.microsoft.com/download/7/C/E/7CED6910-C7B2-4196-8C55-208EE0B427E2/Windows_Server_2019_licensing_datasheet_EN_US.pdf

https://www.lenovosalesportal.com/windows-server-2019-core-licensing-calculator.aspx

สิ่งที่ควรจะมีใน Datacenter

แต่ละองค์กรให้ความสำคัญกับส่วนต่างๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ไม่เท่ากัน แต่มักจะมีรูปแบบที่คล้ายกัน โดยจะไปเน้นลงทุนเพิ่มในส่วนที่คิดว่าถ้ามีปัญหาจะกระทบกับบริษัทมากที่สุด เช่นบางที่ความสำคัญไปอยู่ที่ระบบ Internet เพราะใช้งานผ่าน Cloud เป็นหลัก หรืออาจจะให้ความสำคัญกับ Server และระบบ Backup เพราะเก็บข้อมูลไว้เอง

สำหรับผม Diagram ด้านล่างคือระบบพื้นฐานที่สุดที่ระบบคอมพิวเตอร์สมัยนี้ควรจะมี

Continue reading “สิ่งที่ควรจะมีใน Datacenter”