ใช้ Samsung Galaxy Tab แทน Notebook

ผมใช้ Tablet เวลาไปเที่ยวมาซักพักแล้ว ส่วนใหญ่ก็แค่ VPN, RDP หรือเช็คเอกสารนิดหน่อย ซึ่งใช้งานทดแทน Notebook ได้สบายเลย สิ่งที่มีก็คือ Keyboard กับ Mouse Bluetooth

ปรับ Desktop ให้แสดงผลได้มากที่สุดโดยเอาแถบนำทางด้านล่างออก จอภาพ/แถบการนำทาง/ท่าทางการปัด และเอาคำแนะนำท่าทางออก

จากนั้นก็ปรับ Mouse เลือกปรับปรุงความแม่นยำของตัวชี้ และเลือกปุ่ม Mouse ว่าให้ทำอะไร ผมเลือกให้เป็นปุ่ม Back และ Home

App ที่ใช้งานหลักๆ ก็มีแค่นี้

โปรแกรม Capture Screen

หลังจาก Implement เสร็จก็ต้องทำ Report ซึ่งจำเป็นต้อง Capture จำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ก็ Capture ที่เดิมแค่เปลี่ยนหน้าไปเรื่อยๆ สิ่งที่ต้องการคือแค่กด Shortcut แล้วให้ Save เลยไม่ต้องแจ้งเตือน

โปรแกรมที่ผมใช้คือ Greenshot ซึ่งไม่ Update นานแล้วแต่ยังใช้งานได้ดี สำหรับ Tool บน Windows ยังขาดการให้ Capture ที่เดิมกับ Save อัตโนมัติ

Download Greenshot: Downloads (getgreenshot.org)

วิธีตั้งค่าบน Greenshot

  • Preference > General > Capture Last Region > ตั้ง shortcut ที่ต้องการ
  • Preference > Capture > เอา Show Notifications ออก
  • Preference > Output > ตั้งค่า folder ที่จะ save, รูปแบบชื่อไฟล์, ประเภทไฟล์
  • Preference > Destination > Save Directly

Import ชื่อนามสกุลภาษาไทยบน G Suit

ที่โรงเรียนต้องการเพิ่มนักเรียนเข้าไปใน Gmail เพื่อใช้งาน Classroom และ Service ต่างๆ จาก Google ปัญหาคือทางโรงเรียนไม่มีชือภาษาอังกฤษของนักเรียน เลยต้องใช้รหัสประจำตัวเป็น E-Mail แต่เมื่อ Import ชื่อภาษาไทยเข้าไปก็อ่านไม่ออก วิธีแก้คือ Save ไฟล์เป็น CSV UTF-8 บน Excel

วิธีอัปโหลดทุกคนในครั้งเดียวไปที่ ไดเรกทอรี >> ผู้ใช้ >> อัปโหลดผู้ใช้จำนวนมาก เลือก “ดาวน์โหลดเทมเพลต CSV เปล่า” เพื่อนำมากรอก Save ไฟล์เป็น CSV UTF-8 แล้วเลือก “แนบ CSV”

หลังจากนั้นเมื่อ Export ชื่อทุกคนออกมาเป็น CSV ก็อ่านชื่อไม่ได้ต้อง import บน Excel โดยสร้างเอกสารเปล่า ไปที่เมนู Data >> From Text/CSV เลือกไฟล์ CSV แล้วเปลี่ยน File Origin เป็น Unicode (UTF-8) ก็จะอ่านชื่อนามสกุลภาษาไทยได้

นอกจาก import user ได้แล้วเรายังใส่ user ไปในกลุ่มได้พร้อมกันหลายๆ คนโดยไปที่ ไดเรกทอรี >> กลุ่ม >> เลือกกลุ่มที่ต้องการ >> เลือกจัดการสมาชิก >> ชี้เครื่องหมาย + >> อัพโหลดสมาชิกจำนวนมาก เลือก “ดาวน์โหลดเทมเพลต CSV เปล่า” เพื่อนำมากรอก Save ไฟล์แล้วเลือก “แนบ CSV”

แค่นี้เราก็เพิ่ม user เข้าไปใน Gmail ทั้งหมดครั้งเดียว, เพิ่ม user เข้าไปในกลุ่ม และใช้ชื่อนามสกุลเป็นภาษาไทยได้แล้วครับ

สายตามนุษย์เห็น FPS ได้สูงสุดเท่าไหร่

เรามักจะเข้าใจกันผิดว่าสายตาคนเราแยกความแตกต่างที่มากกว่า 24 FPS (Frame per Second) ไม่ได้ จริงๆ แล้วสายตาคนเราไม่ได้มองภาพเป็น FPS แต่มองทุกอย่างเป็นภาพเคลื่อนไหว และภาพเคลื่นไหวที่ต่ำกว่า 24 FPS เราจะรู้สึกว่ามันไม่ Smooth

สายตาแต่ละคนแยกความแตกต่างของ FPS ได้ไม่เท่ากัน โดยสูงสุดอยู่ที่ประมาณ 1,000 FPS โดยคนทั่วไปจะแยกแยะได้ถึง 150 FPS นั่นคือเหตุผลที่เราเห็น Monitor ที่ Refresh Rate สูงๆ ถึง 240Hz เพราะมีคนที่แยกแยะ FPS ระดับนั้นได้

FPS คือค่าที่ GPU render ออกมา ซึ่งจะให้ผลดีที่สุดเมื่อเท่ากับ Refresh Rate บน Monitor แต่ GPU ไม่ได้มี FPS เท่ากันตลอดเวลาขึ้นอยู่กับจำนวนวัตถุในฉากนั้นๆ ก็เลยมีเทคโนโลยี Adaptive-Sync ออกมาเพื่อให้ Monitor ปรับ Refresh Rate เรื่อยๆ ให้เท่ากับ FPS ที่ GPU ส่งมา

ถ้าใช้ GPU จาก Nvidia ก็เลือก Monitor ที่มี G-Sync ส่วนถ้าใช้ GPU จาก AMD ก็เลือก Monitor ที่มี FreeSync ครับ

เมื่อก่อนผมใช้ Monitor 60 Hz ก็เปิด Vsync ไม่ให้ GPU แสดงผลเกิน 60 FPS แต่เมื่อเปลี่ยนมาใช้ Monitor 144 Hz แสดงผลที่ประมาณ 120 FPS รู้สึกได้ชัดมากว่าภาพเคลื่อนไหว smooth ขึ้น

เลือก Monitor ให้ตรงกับสเปคคอมพิวเตอร์

ผมไม่เคยใช้ Gaming Monitor มาก่อน ปกติก็ต่อกับจอทีวี 40 นิ้ว ใช้ทำงานด้วย เล่นเกมด้วย ส่วนใหญ่ก็เล่นเกมแข่งรถกับ Logitech G29 ส่วนสเปคคอมพ์ก็ไม่ได้แรงอะไร Ryzen 5 2600 + GTX 1660 + SSD 480 + RAM 16GB ช่วงนี้อยากได้จอเล็กลงซัก 27 กำลังดี แล้วก็งงกับสเปคจอ เลยต้องลองเขียน Requirement ขึ้นมาก่อนจะได้ไม่งง

  1. Design, ราคา, จอโค้งหรือจอแบน, HDR, มีลำโพง, มีแจ็คหูฟัง, ปรับหมุนจอ, ปรับความสูงต่ำ, ปรับก้มเงย, ยึดผนัง แต่ละรุ่นจะมีไม่เหมือนกัน
  2. ประเภทจอ (IPS, VA, TN) จอ IPS สีกับมุมมองดีที่สุด Respond Time แย่ที่สุด, จอ VA ค่า Contrast ดีที่สุดอย่างอื่นจะกลางๆ, TN ค่า Refresh Rate และ Respond Time สูงสุด ส่วนสีแย่สุด ผมว่า IPS น่าใช้สุดภาพสวย
  3. ความละเอียดจอ (Resolution) (1920×1080, 2560×1440, 3840×2160) อันนี้ก็ต้องเอาสเปคเครื่อง CPU + GPU + Game Performance (Ultra, High, Medium, Low) มาเทียบกับเกมว่าระดับไหนที่ FPS ไม่ต่ำกว่า 60 ข้อนี้ผมใช้เว็บช่วยคำนวนให้โดยเลือก CPU, GPU ที่เราใช้ก่อน แล้วไปเลือก Game Performance ดูอีกทีว่าระดับไหนที่ไม่ต่ำกว่า 60 FPS (เช็คได้ที่เว็บนี้ https://www.gpucheck.com/graphics-cards)
  4. Refresh Rate (144hz, 165hz, 240hz) เท่าไหร่ขึ้นอยู่กับเกมที่คุณเล่น CPU + GPU + Game Performance + Resolution ว่าได้ FPS สูงสุดเท่าไหร่ ก็เลือกจอที่ Refresh สูงกว่านั้น
  5. Adaptive-Sync จะปรับ Refresh Rate จอให้เท่ากับ FPS ขึ้นอยู่กับใช้ GPU อะไร nvidia หรือ AMD ถ้าเป็น AMD จอส่วนใหญ่จะรองรับ FreeSync แต่ถ้าเป็น nvidia คุณต้องดูที่เป็น G-Sync หรืออย่างน้อยก็ G-Sync Compatible (รองรับ GTX 10 Series ขึ้นไป) ซึ่งมีไม่เยอะและแพงกว่า ถ้าคุณเอาจอ FreeSync ที่ไม่ Compatible มาใช้กับ nvidia อาจจะใช้ได้หรืออาจจะมีปัญหา (รายชื่อจอที่รองรับ G-Sync https://www.nvidia.com/en-us/geforce/products/g-sync-monitors/specs/)

เมื่อได้คำตอบทั้ง 4 ข้อนี้ก็จะได้จอที่พอดีกับสเปคคอมพ์แล้วครับ มาดูของผมว่าต้องซื้อจอแบบไหน ผมเล่นเกมแข่งรถก็เลยเน้นที่ F1 2019, Need For Speed: Heat แล้วก็ Forza Horizon 4

Ultra+FHD ผมว่าระดับนี้กำลังพอดี FPS สูงสุด 74.9

Ultra+QHD FPS ต่ำกว่า 60 ใช้ไม่ได้แล้วครับ

High+FHD เล่นได้ทุกเกม FPS สูงสุด 123.4

High+QHD เล่นได้ทุกเกม FPS สูงสุด 91.9

สรุปจากสเปคคอมพ์ของผม

  • ผมควรซื้อจอ FHD ที่ 144hz ซึ่งพอดีกับสเปคคอมพ์ที่ผมใช้อยู่
  • ถ้าผมซื้อจอ QHD มาผมก็เปิด Ultra ไม่ได้
  • จอ LG 27GL650F-B ได้ตามสเปค เป็น G-Sync Compatible และมี HDR แต่ไม่ใช่จอโค้งครับ ราคาประมาณ 8,700 บาท