เพิ่ม Firewall ในระบบที่ใช้ ADSL หรือ Fiber

บริษัทที่ใช้ internet จาก 3BB, True หรือ TOT แบบ ADSL หรือ Fiber อยากเพิ่ม firewall เข้ามาในระบบเพื่อใช้งาน VPN (work from home) แต่ก็กลัวยุ่งยาก ซึ่งจริงๆ แล้วมีขั้นตอนไม่เยอะ
แนะนำ Fortigate Firewall ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 25,000 บาท รวมติดตั้ง

ขั้นตอนการเพิ่ม firewall เข้ามาในระบบ

  1. เปลี่ยน Router ที่ได้จาก ISP เป็น Bridge Mode
  2. เปลี่ยน IP Router ไป subnet อื่น
  3. เสียบสายจาก Router มาที่ WAN บน Firewall
  4. เสียบสายจาก LAN จาก Firewall เข้า switch
  5. เปลี่ยน IP firewall เป็น IP เดิมของ router (gateway)
  6. ถ้า router เคยแจก IP ก็ให้ Firewall แจก IP แทน
  7. แค่นี้ก็ใช้งาน Firewall ได้แล้ว ที่เหลือก็คือการสร้าง Policy ต่างๆ มาใช้งาน

ข้อดีของการมี firewall

  • มีความเสถียรมากกว่า Router จาก ISP ที่อาจจะต้องไปเปิดปิดบ่อยๆ เพราะรับโหลดไม่ไหว
  • Firewall ตั้ง Policy ได้ตาม Interface, Address, ช่วงเวลา หรือ User ได้อย่างยีดหยุ่น
  • Captive Portal กำหนดให้ต้อง Login ก่อนใช้งานได้
  • Application Control ตั้ง Policy ได้ตาม Application ที่ User ใช้งาน เช่นห้ามพนักงานดูวีดีโอทุกประเภทช่วงเวลางาน
  • Web Filtering กรองเว็บที่ User ใช้งาน
  • Antivirus กรองไวรัสที่เข้ามาทาง Internet
  • Virtual IP เปิดให้เข้ามาใช้บาง Server ผ่าน Internet
  • SSL VPN ให้ User เข้ามาใช้งาน Server จากนอก Office (Work from Home)
  • Site to Site VPN เชื่อต่อสาขากับสำนักงานใหญ่
  • SysLogs ส่ง Traffic log ไปเก็บไว้บน syslog server

สนใจสอบถามเพิ่มเติม info@implementer.co.th หรือ send message ทาง facebook

Server: Domain Controller

ผมว่าแทบทุกที่มี Active Directory ใช้อยู่แล้ว ซึ่ง Domain Controller ก็คือเครื่องที่เก็บข้อมูลต่างๆ ของ AD เอาไว้ ผมขอธิบายแบบง่ายๆ ว่า Active Directory มีประโยชน์อะไร ที่ได้ใช้บ่อยๆ

ใน 1 องค์กรมี Domain Controller ได้มากกว่า 1 เครื่องซึ่งจะเก็บข้อมูลไว้เหมือนกัน ถ้าเครื่อง 1 พัง เหลือแค่เครื่อง 2 ก็ยังใช้งานได้ DC ทั้งหมดที่มีจะมี 1 เครื่องที่เป็นตัวเก็บ FSMO ซึ่งถ้าเครื่องนั้นพังเราก็แค่ให้เครื่องไหนก็ได้ที่เหลือมาเก็บ FSMO แทน

Active Directory เป็น feature ที่มากับ Windows Server อยู่แล้ว เราเปิดใช้งานได้เลย ไม่ต้องซื้อเพิ่ม แนะนำว่าอย่างน้อยควรมี DC 2 เครื่อง ถ้าใช้ VMware ก็ควรอยู่กับคนละระบบ หรือแยกเครื่องหนึ่งไปเป็น Physical Server ก็ได้ แต่เครื่องที่เก็บ FSMO ควรเป็น VM เพื่อง่ายในการ Backup และ Restore

ประโยชน์ของ Active Directory

  1. เป็นที่เก็บ user ทั้งหมดไว้ที่เดียว แบ่ง User เป็นกลุ่มได้ การนำไปใช้งานเช่น Map drive ให้ User ตามแผนก, ให้สิทธิ์ในการใช้ File share ตามกลุ่ม, ให้ User ใช้ Internet บน Firewall ตามกลุ่ม, ให้สิทธื์ User ใช้งาน Service ต่างๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่ระบบที่ต้องมีการ Authenticate ก็รองรับ AD หรือ LDAP อยู่แล้ว
  2. กำหนด Policy ให้เครื่อง Client ในระบบ แทนที่จะต้องไปตั้งค่า PC ที่ละเครื่อง เรากำหนด GPO ให้การตั้งค่าเครื่องต่างๆ ตามกลุ่มเช่น WSUS, Add Printer, Startup app
  3. Service อื่นๆ ที่มักอยู่บน DC เช่น DNS สำหรับชี้ว่าเครื่องแต่ละเครื่องใช้ IP อะไร, DHCP สำหรับแจก IP ให้เครื่องในระบบ, NPS ให้ WIFI เข้ามา Authenticate user

สำหรับผมใน DC ไม่ควรมีการติดตั้ง Software ที่ใช้งานนอกเหนือจากที่มากับ Windows Server จะยกเว้นก็แค่ Antivirus ครับ

สนใจสอบถามเพิ่มเติม info@implementer.co.th หรือ send message ทาง facebook

Move Host Webserver

ผมฝากเว็บไว้ที่ Hosting ในประเทศเพื่อความเร็วในการใช้งาน แต่ปัญหาที่เจอคือ PHP เป็นเวอร์ชั่น 5.xx ตัว WordPress แจ้งว่าไม่ Support ตั้งแต่ปีก่อน

ก็เลยติดต่อไปให้ทาง hosting ย้ายไฟเฟสที่มี PHP เวอร์ชั่นใหม่กว่านี้ เค้าก็ตอบกลับมาใช้เวลา 18 ชั่วโมง หลังจากย้ายเสร็จจะ Copy ส่วนต่างให้อีกครั้ง ip ของเว็บเปลี่ยน เสร็จแล้วให้ผมไปแก้ nameserver ให้ชี้ไปที่ใหม่ก็คือ IP ของ Server ที่ย้ายไป

ผมมีเว็บอยู่ 2 แบบคือชี้ Nameserver ไปที่ Hosting เพื่อจัดการ DNS ที่ Hosting กับจัดการ DNS บนเว็บที่จดโดเมนเลย

ผมชอบจัดการ DNS บนเว็บที่จดโดนเมน เพราะเวลาเปลี่ยน Hosting ก็แค่มาเปลี่ยน IP ไม่ต้องไปแก้ Nameserver ซึ่งคิดว่าจะใช้เวลานาน แต่ผลกลับผิดคาดเว็บที่ผมเปลี่ยน Nameserver กลับอัพเดตข้อมูลเร็วกว่าเว็บที่เปลี่ยน ip แต่ก็ไม่ต้องกังวลเวลาไม่ได้ต่างกันมาก ไม่ถึง 30 นาทีข้อมูลก็อัพเดตแล้ว

ผมใช้ 1.1.1.1 เป็น dns บนเครื่อง

VPN with 2 Step Verification

ความกังวลอย่างหนึ่งของการเปิดให้ user VPN ด้วย username/password คือคิดว่ายังไม่ปลอดภัยเพียงพอต่อองค์กร

Fortigate มี FortiToken เป็นอุปกรณ์เล็กๆ ขนาดเท่า thumb drive ที่จะสุ่มตัวเลขไปเรื่อยๆ ทุกครั้งที่ user login จะต้องใส่ตัวเลขที่อยู่บน Fortitoken ลงไปด้วย เพื่อเพิ่มความปลอดภัยขึ้นอีกขั้นหนึ่ง

FortiToken ต้องซื้อแยก ส่วนการเปิดใช้งานบน Fortigate ทำได้เลย โดยใส่ ID ของ FotiToken ให้ user แต่ละคนไม่ต้องมี licensed เพิ่มเติม
หรือถ้าใช้เป็น App บนโทรศัพท์มือถือก็ซื้อ licensed มาใส่ตามจำนวน user ที่จะใช้งาน

สนใจสอบถามเพิ่มเติม info@implementer.co.th หรือ send message ทาง facebook

Work from Home with VPN

เมื่อ 10 ปีก่อนผมมักจะแนะนำให้ลูกค้ามี Firewall ง่ายๆ อย่าง pfSense ติดตั้งไว้บน VMware เพื่อจัดการ Bandwidth และให้ User authenticate ก่อนใช้งาน Internet เพื่อเก็บ Log

ต่อมาความต้องการของลูกค้ามากขึ้นอยาก Block เว็บตามประเภท เช่นเว็บดูหนัง ฟังเพลง เล่นเกม เลยต้องขยับมาใช้ Fortigate เพราะ Block เว็บได้เป็นกลุ่มตามที่ลูกค้าอยากได้ ข้อดีของ Firewall ที่ต้องจ่าย MA รายปีคือมีการอัพเดต Signature ของ Application Control, Web Filtering และ AntiVirus ให้ด้วย

VPN ก็เป็น Feature ที่มากับ Firewall แทบทุกยี่ห้อ การใช้ VPN ต่างกับการ Forward Port คือ Forward port จะทำเป็นเครื่องๆ สำหรับแต่ละ Port เช่น เครื่อง 1 ใช้ Port 80 แล้ว เครื่อง 2 ต้องไปใช้ Port 81

ส่วนการ VPN เป็นเหมือนเครื่องของผู้ใช้ปลั้กเข้ามาในระบบ สามารถใช้งานได้ทุกอย่าง หรือจำกัดให้ใช้งานได้แค่บางอย่างผ่าน Policy บน Firewall

บน Firewall การจัดการ Traffic โดยแบ่งประเภทได้เป็น IP, Subnet, User, Service, Application, Destination

ตัวอย่าง Policy
Subnet ของ Server ใช้ Internet ได้ทุกประเภท ตลอดเวลา
User กลุ่ม Manager ใช้ Internet ได้ทุกประเภท 8.00-18.00
User กลุ่ม Staff ใช้ Internet ได้ทุกประเภท 12.00-13.00
User กลุ่ม Staff ใช้ Internet ได้เฉพาะที่อนุญาติ 8.00-18.00

ตัวอย่าง VPN Policy
User กลุ่ม IT เข้าใช้งานได้ทุก Subnet
User กลุ่ม Manager และ Staff ไม่ให้เข้า Subnet Network และ Storage

การต่อ VPN จากภายนอกเข้ามาแนะนำให้ใช้ SSL VPN และเปลี่ยน Port เป็น 443 เพื่อป้องกันปัญหา Port โดน Block เพื่อใช้งานนอกสถานที่

บน Fortigate การเปืดให้งาน VPN ง่ายมากแค่ระบุ WAN ที่จะให้เข้ามา กำหนดกลุ่ม User ที่อนุญาติ แล้วก็กำหนด Policy ตามที่ต้องการ
ที่ฝั่ง Client ก็แค่ติดตั้ง FortiClient แล้วชี้มาที่ IP WAN ของบริษัท หรือถ้าไม่ได้ Fixed IP ก็ใช้ Dynamic DNS ไปก่อน แต่แนะนำว่าควรสมัคร Fixed IP ไว้เดี๋ยวนี้ราคาไม่แพงแล้ว

สนใจสอบถามเพิ่มเติม info@implementer.co.th หรือ send message ทาง facebook