เลือก Monitor ให้ตรงกับสเปคคอมพิวเตอร์

ผมไม่เคยใช้ Gaming Monitor มาก่อน ปกติก็ต่อกับจอทีวี 40 นิ้ว ใช้ทำงานด้วย เล่นเกมด้วย ส่วนใหญ่ก็เล่นเกมแข่งรถกับ Logitech G29 ส่วนสเปคคอมพ์ก็ไม่ได้แรงอะไร Ryzen 5 2600 + GTX 1660 + SSD 480 + RAM 16GB ช่วงนี้อยากได้จอเล็กลงซัก 27 กำลังดี แล้วก็งงกับสเปคจอ เลยต้องลองเขียน Requirement ขึ้นมาก่อนจะได้ไม่งง

  1. Design, ราคา, จอโค้งหรือจอแบน, HDR, มีลำโพง, มีแจ็คหูฟัง, ปรับหมุนจอ, ปรับความสูงต่ำ, ปรับก้มเงย, ยึดผนัง แต่ละรุ่นจะมีไม่เหมือนกัน
  2. ประเภทจอ (IPS, VA, TN) จอ IPS สีกับมุมมองดีที่สุด Respond Time แย่ที่สุด, จอ VA ค่า Contrast ดีที่สุดอย่างอื่นจะกลางๆ, TN ค่า Refresh Rate และ Respond Time สูงสุด ส่วนสีแย่สุด ผมว่า IPS น่าใช้สุดภาพสวย
  3. ความละเอียดจอ (Resolution) (1920×1080, 2560×1440, 3840×2160) อันนี้ก็ต้องเอาสเปคเครื่อง CPU + GPU + Game Performance (Ultra, High, Medium, Low) มาเทียบกับเกมว่าระดับไหนที่ FPS ไม่ต่ำกว่า 60 ข้อนี้ผมใช้เว็บช่วยคำนวนให้โดยเลือก CPU, GPU ที่เราใช้ก่อน แล้วไปเลือก Game Performance ดูอีกทีว่าระดับไหนที่ไม่ต่ำกว่า 60 FPS (เช็คได้ที่เว็บนี้ https://www.gpucheck.com/graphics-cards)
  4. Refresh Rate (144hz, 165hz, 240hz) เท่าไหร่ขึ้นอยู่กับเกมที่คุณเล่น CPU + GPU + Game Performance + Resolution ว่าได้ FPS สูงสุดเท่าไหร่ ก็เลือกจอที่ Refresh สูงกว่านั้น
  5. Adaptive-Sync จะปรับ Refresh Rate จอให้เท่ากับ FPS ขึ้นอยู่กับใช้ GPU อะไร nvidia หรือ AMD ถ้าเป็น AMD จอส่วนใหญ่จะรองรับ FreeSync แต่ถ้าเป็น nvidia คุณต้องดูที่เป็น G-Sync หรืออย่างน้อยก็ G-Sync Compatible (รองรับ GTX 10 Series ขึ้นไป) ซึ่งมีไม่เยอะและแพงกว่า ถ้าคุณเอาจอ FreeSync ที่ไม่ Compatible มาใช้กับ nvidia อาจจะใช้ได้หรืออาจจะมีปัญหา (รายชื่อจอที่รองรับ G-Sync https://www.nvidia.com/en-us/geforce/products/g-sync-monitors/specs/)

เมื่อได้คำตอบทั้ง 4 ข้อนี้ก็จะได้จอที่พอดีกับสเปคคอมพ์แล้วครับ มาดูของผมว่าต้องซื้อจอแบบไหน ผมเล่นเกมแข่งรถก็เลยเน้นที่ F1 2019, Need For Speed: Heat แล้วก็ Forza Horizon 4

Ultra+FHD ผมว่าระดับนี้กำลังพอดี FPS สูงสุด 74.9

Ultra+QHD FPS ต่ำกว่า 60 ใช้ไม่ได้แล้วครับ

High+FHD เล่นได้ทุกเกม FPS สูงสุด 123.4

High+QHD เล่นได้ทุกเกม FPS สูงสุด 91.9

สรุปจากสเปคคอมพ์ของผม

  • ผมควรซื้อจอ FHD ที่ 144hz ซึ่งพอดีกับสเปคคอมพ์ที่ผมใช้อยู่
  • ถ้าผมซื้อจอ QHD มาผมก็เปิด Ultra ไม่ได้
  • จอ LG 27GL650F-B ได้ตามสเปค เป็น G-Sync Compatible และมี HDR แต่ไม่ใช่จอโค้งครับ ราคาประมาณ 8,700 บาท

Remote Desktop Connection Manager (RDCMan) discontinues

Remote Desktop Connection Manager หรือ RDCMan เป็น Software จาก Microsoft ออก Version สุดท้ายเมื่อปี 2014 และเลิก Support ไปเมื่อ มีนาคม ปี 2020 โดย Microsoft แนะนำให้ไปใช้ Remote Desktop บน Windows แทน เพราะรองรับความสามารถใหม่ๆ มากกว่า

แต่สิ่งที่ Remote Desktop มาแทนที่ RDCMan ไม่ได้คือความเรียบง่าย และความสะดวกตอนที่ต้อง Remote ไปครั้งละมากกว่า 1 เครื่องสลับไปมา แต่ก็ยอมรับว่าเคสแบบนี้เกิดขึ้นน้อย

มาดูว่า RDCMan ทำอะไรได้บ้าง

หน้าตาเรียบๆ แบ่ง Server เป็นกลุ่มตาม User/Password ที่ใช้ Login ได้

สร้าง Profile สำหรับ User แต่ละคนเพื่อนำไปใช้กับ Group หรือ Server

นำ Profile มาใส่ใน Group ก็จะทำให้ Server ใน Group ทั้งหมดไม่ต้อง Login ตอนใช้งาน

สลับเครื่องไปมาง่าย เพราะเห็น List Server อยู่ด้านซ้าย

นอกจากนี้ไฟล์ Config เรา Copy ไปเครื่องอื่นได้ แต่ต้องใส่ Password ทั้งหมดใหม่เพื่อความปลอดภัย ส่วนประเด็นสำคัญที่คนใช้ RDCMan คือเป็น Software จาก Microsoft เลยรู้สึกมั่นใจกว่าไปใช้ 3rd Party Software

Software Free ที่มาใช้แทน RDCMan ได้ดี มี Connection หลายอย่างในที่เดียว เช่น VNC, SSH, Telnet, HTTPS ซึ่งน่าจะช่วยเราจัดการงาน Remote ได้แทบจะทุกอย่างในบริษัทคือ mRemoteNG

mRemoteNG ผมเพิ่งลองใช้งานก็สะดวกดี และสำหรับคนที่ใช้ RDCMan อยู่แล้วก็ Import เครื่องเข้ามาได้เลย จากรูปผม Import เครื่องมาจาก RDCMan
Download: https://mremoteng.org/

Responsive web design

ห่างหายจากการทำเว็บไปนาน ยุคนี้ต้องเน้นให้เปิดเว็บบนโทรศัพท์ก็อ่านง่าย ผมใช้ wordpress ก็เลยง่ายเพราะเป็น Responsive web design อยู่แล้วแต่ต้องเปลี่ยน theme ใหม่ เพราะว่า theme เดิมที่ใช้โชว์ menu เต็มอยู่ด้านบนของเว็บ ซึ่งเมนูกินเนื้อที่ไปเยอะกว่าจะเห็นเนื้อหา เลยใช้ theme นี้ที่ยุบ menu มารวมกัน

จากนั้นก็มาปรับเรื่อง sidebar ให้ซ่อนที่ 909px ตัวเลขนี้ผมไม่แน่ใจว่าแต่ละ theme เหมือนกันหรือเปล่า แต่ theme ที่ผมใช้ 909px คือขนาดที่ sidebar ไม่หล่นไปอยู่ข้างล่าง และไม่เจอพื้นที่โล่งกว้างๆ ด้านขวามือ

Responsive web design ก็คือเว็บที่ปรับขนาดตัวเองอัตโนมัติ ให้เหมาะสมกับหน้าจอของอุปกรณ์ที่เข้ามาใช้งาน เพื่อให้อ่านง่ายไม่ว่าจะใช้โทรศัพท์, tablet หรือ PC

ผมทดสอบกับ iPAD, Tablet Android และ โทรศัพท์ Android แสดงผลได้ดี อ่านง่ายทุกอุปกรณ์ รวมทั้ง Windows Snap Assist ที่แบ่งหน้าจอ Windows ก็แสดงผลได้ดีทั้ง Chrome และ Firefox

แสดงผลเต็มจอ Full HD
ความกว้างน้อยที่สุดที่เห็น sidebar
เมื่อหน้าจอแคบที่สุด ก็ลดจำนวน column รูปภาพลง
เมื่อ sidebar โดนซ่อนจะเห็นว่าเนื้อหามีขนาดใหญ่ขึ้น

Server: File Share

File server หรือ file share เป็น server ที่เก็บไฟล์ที่ใช้ร่วมกันในองค์กร ส่วนใหญ่จะใช้วิธี map drive ไปให้ user ใช้งาน นอกจากนี้ file share ยังกำหนดสิทธิ์การใช้งานได้ว่า user แต่ละคนเข้าใช้แต่ละ folder ใน file share ได้หรือไม่ผ่านสิทธิ์ใน Active Directory

การ map drive ให้ user ปกติผมใช้ผ่าน GPO บน Active Directory เพื่อความง่ายและรวดเร็ว ไม่ต้องไป map drive ที่เครื่อง user ทุกคน

แทบทุกที่ map drive รูปแบบคล้ายๆ กันคือ drive ส่วนตัวของ user, drive แผนก, drive รวมของบริษัท และมักจะ filter ประเภทไฟล์และกำหนด quota พื้นที่ใช้งาน

ข้อดีของการใช้ File Share

  • จัดการง่าย กำหนดพื้นที่ให้ใช้งาน และประเภทไฟล์ที่เก็บได้
  • Backup ข้อมูลจากที่เดียว ง่ายในการค้นหาเพื่อ restore ไฟล์
  • มั่นใจได้ว่าไฟล์ที่เก็บไว้ที่ file share มีความปลอดภัยมากกว่า มีการกำหนดสิทธิ์เข้าถึงไฟล์
  • Restore ไฟล์กลับได้หลาย version กรณีที่ไฟล์โดน save ทับแล้วเสียหาย

สนใจสอบถามเพิ่มเติม info@implementer.co.th หรือ send message ทาง facebook