HP Proliant DL380 G7 unbox

ช่วงหลังๆ มานี้ไม่ค่อยได้ unbox server เพราะส่วนใหญ่จะส่งเครื่องที่ลูกค้าเลย รอบนี้ได้เครื่องมาวันเสาร์เลยมีโอกาสเปิดเครื่องให้ดูอีกครั้ง

ปรับแต่ง ubuntu 10.10

ผมค่อนข้างประทับในกับ Unity บน Ubuntu 10.10 แต่มีปัญหากับการ์ดจอ ทำให้เกิดปัญหาบ่อยๆ ข้อดีของ Unity ที่ผมชอบมากคือการรวม panel, title bar และ menu bar ไว้ด้วยกัน วันนี้เลยมาแนะนำวิธีทำให้ Ubuntu Desktop คล้ายกับ Unity แถมยังดีกว่าด้วยซ้ำ

หลังจากติดตั้งเสร็จหน้าตาเริ่มต้นของ Ubuntu เป็นแบบนี้

im-0010.jpgim-0011.jpgim-0012.jpg Continue reading “ปรับแต่ง ubuntu 10.10”

Google Chrome 11

Google Chrome 11 ออกมาพักหนึ่งแล้วแต่ยังไม่ใช่ stable version จากการใช้มาพักหนึ่งก็ยังไม่เจอปัญหาอะไร แต่การใช้งานให้ได้ประสิทธิภาพที่ดีขึ้นควรจะโหลด extension และตั้งค่าเพิ่มนิดหน่อย
ดาวน์โหลดที่นี่  http://www.chromium.org/getting-involved/dev-channel ล่าสุดคือ Canary build แต่แนะนำให้ใช้ dev ซึ่งเสถียรกว่า

หลังจากติดตั้งเสร็จแล้วก็ตั้งค่าเพิ่มเติมคือ

  1. ตั้งค่าภาษาไทยสำหรับบางเว็บที่อาจจะตัวเล็กไป Options > Under the Hood ที่หัวข้อ Web Content คลิก Customize fonts ตั้งค่าตามนี้
    im-0004.jpg
  2. Options > Personal Stuff ที่หัวข้อ Sync ให้ Sync กับ Gmail เพื่อให้จำค่าต่างๆ ทั้ง Bookmark, Password, Extension เหมาะสำหรับคนที่ใช้ Computer มากกว่า 1 เครื่อง Continue reading “Google Chrome 11”

ติดตั้ง Windows 7, XP และ Ubuntu ในเครื่องเดียว

ผมใช้ Windows 7 Professional 64bit เป็นระบบปฏิบัติการ(OS) หลัก แต่มีบางครั้งที่จำเป็นต้องใช้ Windows XP เพื่อทดสอบ Access Point หรือทดสอบโปรแกรมบางตัว และติดตั้ง Ubuntu ไว้ด้วยไว้ทดลองใช้งานเปรียบเทียบกับ Windows 7 ซึ่งผมคิดว่า ubuntu ก็มีส่วนที่ดีหลายๆ อย่างปัจจุบันนี้สิ่งที่คนใช้ส่วนใหญ่คือ web browser ซึ่ง ubuntu ก็มีให้ใช้ทั้ง Google Chrome, Opera และ Firefox การติดตั้ง OS อื่นๆ ไว้เป็น VM ก็สามารถใช้งานได้แต่ก็ไม่สามารถดึงประสิทธิภาพออกมาได้เต็มที่ และไม่สามารถทดสอบ Wireless หรือ Hardware อื่นๆ ได้ ดังนั้นผมจึงต้องติดตั้ง notebook เป็นแบบ multi-OS หรือ multi-boot

ปัญหาในการใช้ multi-OS ก็คือต้องมีการเรียงลำดับการติดตั้ง OS โดยปกติก็คือ Windows XP – Windows 7 – Ubuntu โดนตัว Ubuntu จะเป็น OS หลักที่คุม boot loader แต่ในความเป็นจริงแล้วเราต้องการให้ Windows 7 เป็น OS หลัก และเราก็มักจะลง Windows 7 เอาไว้แล้วเมื่อเจอปัญหาจึงต้องการติดตั้ง OS อื่นๆ เพิ่มเติม อีกปัญหาก็คือ Ubuntu ออกเวอร์ชั่นใหม่ๆ บ่อยแล้วการที่เราเอามองลองใช้ดูก็อาจจะเกิดปัญหาได้ง่าย การลบ ubuntu จึงต้องมานั่งแก้ boot sector ใหม่ทุกครั้งทำให้ไม่สะดวก

สิ่งที่ได้จากวิธีนี้

  1. Windows 7 เป็น OS หลักและเป็น OS ที่คุม Boot sector การลบ OS อื่นๆ ออกไปไม่มีผลกระทบกับการเข้าใช้งาน Windows 7
  2. สามารถกำหนดได้ว่าจะให้ boot เข้า OS ไหนเป็นค่า Default และกำหนดได้ว่าจะให้ขึ้น List ของ OS ให้เลือกนานแค่ไหน
  3. สำหรับเครื่องที่ติดตั้ง Windows 7 ไว้แล้วก็สามารถปรับแต่งได้ทันที่โดยไม่ต้องติดตั้ง Windows ใหม่

ติดตั้ง Windows 7 ตามปกติโดยแบ่งเป็น 3 Partition คือ System Reserver, OS และที่เก็บข้อมูลต่างๆ เช่นเอกสาร หรือรูป โดยให้เหลือเนื้อที่ว่างเอาไว้สำหรับ Windows XP อย่างน้อย 20 GB เผื่อลงโปรแกรมและ Virtual Memory  และเผื่อไว้สำหรับ Ubuntu อีก 20 GB หรือตามต้องการ รวมที่ต้องเผื่อไว้ราวๆ 40 GB ซึ่งที่ว่างนี้ปรับเปลี่ยนได้ตามขนาด Harddisk ของเรา

IM_2011-02-19_17-44-26.jpg
IM_2011-02-19_17-44-54.jpg
IM_2011-02-19_17-45-18.jpg
IM_2011-02-19_17-45-36.jpg
IM_2011-02-19_17-45-47.jpg
IM_2011-02-19_17-45-58.jpg
IM_2011-02-19_17-46-18.jpg
IM_2011-02-19_17-46-26.jpg
IM_2011-02-19_17-46-35.jpg
IM_2011-02-19_17-47-45.jpg
IM_2011-02-19_17-47-54.jpg
IM_2011-02-19_17-56-40.jpg
IM_2011-02-19_17-57-09.jpg
IM_2011-02-19_17-57-21.jpg
IM_2011-02-19_17-57-40.jpg
IM_2011-02-19_17-58-40.jpg

สำหรับเครื่องที่ติดตั้ง Windows 7 เอาไว้แล้ว และไม่มีเนื้อที่เหลือให้ติดตั้ง OS อื่นๆ ให้เข้าไปที่ Control Panel > Administrative Tools > Computer Management
ไปที่ Storage > Disk Management คลิกขวาที่ Drive ที่ต้องการย่อขนาดเพื่อให้มีเนื้อที่เหลือ เลือก Shrink Volume ในช่อง Enter the amount of space to shrink in MB  คือเนื้อที่ว่างที่เราต้องการนำไปใช้เช่นใส่ไป 40960 คือต้องการเนื้อที่ 40 GB เอาไว้ลง Windows XP และ Ubuntu

ติดตั้ง Windows XP ใช้ตรง Unpartitioned Space โดยแบ่งมาตามที่เรากำหนดไว้
การติดตั้งโดยละเอียดอ่านได้จากบทความเก่า หลังจากขั้นตอนนี้เราจะ boot เข้า Windows 7 ไม่ได้แล้ว ซึ่งเราจะมาแก้ครั้งเดียวตอนติดตั้ง Ubuntu เสร็จแล้ว

IM_2011-02-19_18-03-56.jpg
IM_2011-02-19_18-04-39.jpg
IM_2011-02-19_18-04-54.jpg
IM_2011-02-19_18-19-13.jpg

ติดตั้ง Ubuntu 10.10 โดยแบ่ง partition ดังนี้คือ

  1. /boot 500 MB type ext4
  2. swap เท่ากับ memory ทั้งหมดบวก 1GB type swap
  3. / 10000MB type ext4
  4. /home ใช้ส่วนที่เหลือทั้งหมด type ext4
  5. เลือก boot loader เป็น partition ที่เรากำหนดไว้เป็น /boot จากตัวอย่างคือ /dev/sda6 ค่านี้ดูได้จากค่า Device หน้า type
  6. หลังจากติดตั้งเสร็จแล้วเราจะไม่สามารถ boot เข้า ubuntu ได้
IM_2011-02-19_18-24-51.jpg
IM_2011-02-19_18-25-14.jpg
IM_2011-02-19_18-26-29.jpg
IM_2011-02-19_18-27-15.jpg
IM_2011-02-19_18-27-35.jpg
IM_2011-02-19_18-28-19.jpg
IM_2011-02-19_18-28-47.jpg
IM_2011-02-19_18-29-11.jpg
IM_2011-02-19_18-30-05.jpg
IM_2011-02-19_18-30-35.jpg
IM_2011-02-19_18-30-44.jpg
IM_2011-02-19_18-31-03.jpg
IM_2011-02-19_18-31-18.jpg
IM_2011-02-19_18-41-22.jpg

แก้ไข boot sector ให้ Windows 7 กลับมาเป็น OS หลัก

  1. boot จากแผ่น Windows 7
  2. กด Next เลือก Repair your computer
  3. กด Next เลือก Command Prompt
  4. พิมพ์ bootrec /fixmbr กด Enter
  5. พิมพ์ bootrec /fixboot กด Enter
  6. พิมพ์ exit กด Enter
  7. กด Restart รอจนเครื่อง Restart เอาแผ่นติดตั้ง Windows 7 ออก
  8. เราจะ boot เข้า Windows 7 ได้อีกครั้ง
IM_2011-02-19_18-46-00.jpg
IM_2011-02-19_18-46-11.jpg
IM_2011-02-19_18-46-27.jpg
IM_2011-02-19_18-46-36.jpg
IM_2011-02-19_18-48-19.jpg

Download โปรแกรม EasyBCD จากที่นี่ http://neosmart.net/dl.php?id=1

  1. หลังจากติดตั้งโปรแกรม EasyBCD เสร็จแล้ว ให้เปิดโปรแกรมแล้วเข้าไปที่ Add New Entry
  2. ไปที่ tab windows เลือก type Windows NT/2k/XP/2k3 ตั้งค่าตามรูป กด Add Entry
  3. ไปที่ tab Linux/BSD เลือก type GRUB(Legacy)  ตั้งค่าตามรูปกด Add Entry
  4. ไปที่ Edit Boot Menu ในหน้านี้จะแสดง OS ทั้งหมดที่มี การกำหนดให้ OS ตัวไหนเป็น OS ที่จะ boot อัตโนมัติถ้าไม่ได้เลือกอะไรตอน boot เครื่องโดนติ๊กที่ Default เป็น Yes
  5. กำหนดให้รอเลือก OS กี่วินาทีได้ที่หัวข้อ Boot Default OS after ถ้าไม่ได้เลือกก็จะ boot OS ที่เราตั้งเป็น Default เอาไว้
IM_2011-02-19_18-51-34.jpg
IM_2011-02-19_18-51-49.jpg
IM_2011-02-19_18-52-11.jpg
IM_2011-02-19_18-52-23.jpg

ลอง Restart จะมีหน้าเลือก OS เพิ่มขึ้นมา ลองใช้งานดูครับ วิธีนี้น่าจะสะดวกสำหรับคนที่ชอบลองลง Ubuntu บ่อยๆ

Customer Requirement

Customer Requirement คือจุดเริ่มต้นของการขาย แต่ไม่จำเป็นว่าในที่สุดแล้วลูกค้าจะได้ของตามนั้น ถ้าเราเสนอสิ่งที่เหมาะสมกว่าได้

ตามความเห็นของผมบริษัทที่รับติดตั้งระบบ หรือ SI(System Integrate) จะมีอยู่ 3 แบบ
1. move box คือขายอย่างเดียว ลูกค้าบอกว่าจะซื้ออะไรบ้าง ระบุรุ่นระบุสเปค แล้วลูกค้าก็ติดตั้งเอง
2. รับติดตั้ง หรือ implement คือลูกค้าออกแบบ ระบุสเปค แต่ให้ SI ติดตั้งให้
3. ออกแบบติดตั้ง ลูกค้ารู้แค่ว่าอยากให้ระบบภายในขององค์กรตัวเองเป็นยังไง แล้วทาง SI จะออกแบบ เสนอสเปค และติดตั้งให้ทั้งหมด

Continue reading “Customer Requirement”